January 24, 2017 00:49
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
โรคซึมเศร้า นอกจากการใช้ยา ช็อตไฟฟ้า ก็มีวิธีบำบัด อื่น ๆ อีก ครับ
1.. ถามว่าการสอนให้คิดใหม่ทำใหม่ (CBT) เขาทำกันอย่างไร ตอบว่าคุณต้องเข้าใจพัฒนาการของ CBT ซึ่งมีรากมาจากการรักษาสองแบบเอามารวมกัน คือ
1.1 พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy) หมายความว่าสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนเราฝึกหมายังไงยังงั้น โดยวิธีสร้างเงื่อนไขสองอย่างให้ผูกด้วยกันเพื่อให้เรียนรู้ความเชื่อมโยง เช่นจะฝึกหมาให้รู้ว่าเราเรียกมากินข้าวก็สั่นกระดิ่งก่อนให้ข้าวทุกครั้ง หลังจากนั้นไม่นานพอได้ยินเสียงกระดิ่งหมาก็วิ่งมาน้ำลายสอรออยู่แล้วเพราะเรียนรู้แล้วว่าเสียงแบบนี้งานนี้ได้กินแน่ ควบกับวิธีให้รางวัลและลงโทษ ในการนำมาใช้ในคนก็ต้องวิเคราะห์ว่าจะลบพฤติกรรมอะไร สร้างพฤติกรรมอะไรแทน จะผูกเงื่อนไขเอาอะไร (ที่คนไข้ไม่ชอบ) ให้มาเกิดพร้อมกับพฤติกรรมที่อยากจะลบทิ้ง เช่นเอาบรเพ็ดทามือเด็กที่ชอบดูดนิ้ว และจะผูกเงื่อนไขอะไร (ที่คนไข้ชอบ) ให้มาเกิดพร้อมกันหรือไล่ๆกับพฤติกรรมที่อยากให้เกิดใหม่
1.2 การสอนให้คิดใหม่ (cognitive therapy) เป็นการสอนแบบประกบพูดคุยให้หัดเลิกคิดลบมาคิดบวกแทน โดยวิธีให้ผู้รักษาพูดคุยทำความเข้าใจกับคนไข้ เช่น ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อที่มีมาแต่เดิมนั้นไม่จริง หรือพิสูจน์ให้เห็นว่าความเชื่อหรือสมมุติฐานเดิมในใจของคนไข้นั้นผิด เมื่อความเชื่อสั่นคลอน คนไข้ก็โน้มเอียงจะเปลี่ยนความคิดได้
เมื่อเอาทั้งสองวิธีมารวมกันก็กลายเป็น CBT ตามทฤษฏีแบบคลาสสิกเลยต้องทำ 6 ขั้นตอน คือ (1) ประเมิน (2) ตั้งกรอบความคิดใหม่ หรือ re-conceptualization (3) สร้างทักษะ (4) ฝึกทักษะซ้ำจนมั่นคง (5) ติดตามดู (6) ประเมินผล ซึ่งในความเป็นจริงเทคนิคที่ใช้มีสารพัดตั้งแต่หัดให้สอนตัวเอง เช่นฝึกหันเหความสนใจ (เพื่อไม่ให้กลัว) ฝึกจินตนาการ (ว่าเราไม่กลัวมัน) ให้ทำการบ้าน (เช่นกลัวคนแปลกหน้าก็ให้ไปพูดกับคนแปลกหน้าหนึ่งคนก่อนมาพบหมอ) ไปจนถึงใช้เครื่องวัดการทำงานของร่างกายช่วยบอกให้รู้ตัวว่ากำลังเครียดหรือกำลังกลัวหรือกำลังผ่อนคลาย (biofeedback) เป็นต้น
2.. ถามว่า CBT ทำเองได้หรือเปล่า ตอบว่าได้สิครับ ความจริงเขาออกแบบมาให้คนไข้ทำเอง เพียงแต่ผู้รักษาเป็นผู้ช่วยอยู่ห่างๆแบบไม่แอคทีฟ ถ้าผู้รักษาเข้ามาบงการนั่นก็ไม่ใช่ CBT แล้ว
3.. ถามว่าโรคซึมเศร้าแบบกลับเป็นอีก มีวิธีรักษาอย่างอื่นอะไรอีกบ้าง ตอบว่างานวิจัยใหม่ๆเรื่องการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (relapse) ของโรคซึมเศร้า วิธีที่มาแรงที่สุดคือการรักษาแบบสอนให้คิดใหม่ที่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้ตัว (mindfulness-based cognitive therapy หรือ MBCT) คือจาก CBT เดิมแต่ตัดเรื่องพฤติกรรมบำบัดออกทิ้งไป แล้วเพิ่มเทคนิคการตามรู้ความคิดและความรู้สึก (recall) และการมีความรู้ตัวอยู่ ณ ปัจจุบัน (self awareness) ด้วยวิธีนั่งสมาธิหลับตา (meditation) เข้ามาช่วยการยุติความคิดเก่าที่ไม่ดี งานวิจัยใหม่ๆ ที่ทะยอยตีพิมพ์ในระยะสามสี่ปีมานี้พิสูจน์ได้ว่า MBCT ป้องกันการกลับซึมเศร้าได้ดีอย่างน้อยเท่ากับการกินยาต้านซึมเศร้าแบบต่อเนื่อง แต่มีความคุ้มค่า (cost effective) มากกว่าการใช้ยาในระยะยาว เรื่องนี้ส่วนใหญ่ทั้งหมอและทั้งคนไข้ฝรั่งจะเป็นว้าว ตื่นเต้น อยากลอง แต่กับคนไข้ไทยไม่ค่อยได้ผล
http://visitdrsant.blogspot.com/2012/11/mbct.html
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อยากทราบวิธีการรักษาโรคซึมเศร้านอกเหนือจากวิธีการใช้ยาค่ะ เพราะทานมานานมาก ปรับยาทุกครั้ง อาการไม่เคยคงที่เลย เคยได้ยินมาว่ามีการช็อตไฟฟ้า ไม่แน่ใจว่าอันตรายมากน้อยเพียงใด และผลข้างเคียงของการรักษาจะเป็นอย่างไร ทำไมแพทย์ถึงต้องใช้ดุลยพินิจอย่างหนักกับการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชด้วยวิธีนี้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)