January 26, 2017 17:43
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด เกิดขึ้นเพราะมีการเสียสมดุลของการใช้น้ำตาลในเลือด ปกติกระเพาะอาหารและสำไส้จะย่อยอาหาร ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆที่เล็กลง หนึ่งในนั้นคือ น้ำตาลกลูโคส ที่เข้าสู่กระแสเลือดและไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย ส่วน ฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นที่ตับอ่อน มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่อร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือไม่สร้างเลยจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น
การรักษา ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ถ้าอ้วนควรลดให้น้ำหนักสมดุล การใช้ยามีทั้งชนิดกินหรือใช้อินซูลินชนิดฉีด
เป้าหมายคือ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยการคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะปกติ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองค่ะ
-อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือห้ามรับประทาน ได้แก่ ลูกอม ลูกกวาด ไอศกรีม ขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ช็อกโกแลต ขนมหวานทุกชนิด รวมถึงน้ำแข็งใสที่มีส่วนประกอบของกะทิและน้ำเชื่อมด้วย
-ผลไม้ที่มีรสหวาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ไทยๆ แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน ลำไย เงาะ และมะม่วงสุก ฉะนั้นผลไม้เหล่านี้ต้องระวังให้มากๆ
-อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ไม่จำกัด ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงานต่ำ และมีเส้นใยอาหารสูง โดยเฉพาะผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง ซึ่งจะทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง เช่น ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ถั่วงอก ถั่วฝักยาว นอกจากนี้ยังมีอาหารที่เป็นธัญพืชด้วยซึ่งจะสามารถรับประทานได้ไม่อั้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคค่ะ
1. อาหารที่ห้ามรับประทาน
อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานห้ามรับประทานโดยเด็ดขาดคือ อาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือมีรสหวานจัด ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอย่าง น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลฟรักโทส และน้ำตาลโมเลกุลคู่ อย่างเช่นน้ำตาลซูโครส หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือน้ำตาลทราย
1.1 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือห้ามรับประทาน ได้แก่ ลูกอม ลูกกวาด ไอศกรีม ขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ช็อกโกแลต ขนมหวานทุกชนิด รวมถึงน้ำแข็งใสที่มีส่วนประกอบของกะทิและน้ำเชื่อมด้วย
1.2 ผลไม้ที่มีรสหวาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ไทยๆ แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน ลำไย เงาะ และมะม่วงสุก ฉะนั้นผลไม้เหล่านี้ต้องระวังให้มากๆ
1.3 เครื่องดื่ม ให้ระวังน้ำอัดลมเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ใกล้ตัวที่สุดรองลงมาจากน้ำเปล่า ถัดมาเป็นน้ำผลไม้ซึ่งส่วนมากจะมีรสหวานทั้งจากตัวผลไม้เองและจากน้ำเชื่อมที่เติมลงไป เช่น น้ำส้ม น้ำองุ่น และน้ำแอปเปิล แต่ถ้าอยากจะดื่มน้ำผลไม้ให้เลือกเป็นน้ำมะเขือเทศสดเพราะจะมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ และเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงอันดับต่อไปก็คือ เครื่องดื่มชูกำลังหรือน้ำเกลือแร่ต่างๆ ที่วางขายตามท้องตลาด เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มักจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลเจือปนอยู่ด้วย รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำพวกเบียร์และไวน์ด้วยเช่นกัน
หากจะห้ามของหวานกันทุกอย่างแบบนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานคงไม่ได้ลิ้มรสความหวานกันเลยตลอดชีวิต แต่เราก็มีทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการความหวานอย่างปลอดภัยมาฝากกันด้วย ซึ่งก็คือการใช้สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือที่เราเรียกกันว่าน้ำตาลเทียม ซึ่งมีรสหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล และไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ แอสพาร์แทม แซคคารีน หรือขัณทสกร ซูคราโลส และน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล และแมนิทอล รับรองว่าปลอดภัยแน่นอนค่ะ
2. รับประทานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่จำกัดจำนวนบริโภค
อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ไม่จำกัด ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงานต่ำ และมีเส้นใยอาหารสูง โดยเฉพาะผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง ซึ่งจะทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง เช่น ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ถั่วงอก ถั่วฝักยาว นอกจากนี้ยังมีอาหารที่เป็นธัญพืชด้วยซึ่งจะสามารถรับประทานได้ไม่อั้น
3. รับประทานได้อย่างปลอดภัยแต่ต้องจำกัดจำนวนบริโภค
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรระมัดระวังในการรับประทานคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้แก่ อาหารประเภทแป้งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว มักโรนี หรือสปาเกตตี้ ซึ่งจะมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาร่วมกันอยู่ 2 ประการก็คือ ปริมาณเส้นใยในอาหารและไกลซีมิคอินเดกซ์ที่ใช้วัดการดูดซึมของอาหาร กล่าวคือ ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและมีการดูดซึมค่อนข้างต่ำ หรือทำให้การดูดซึมช้าลง ได้แก่ เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และถั่วเมล็ดแห้ง
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการดูแลเรื่องของอาหารการกินสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น ต้องพึงระลึกเสมอว่าไม่มีอาหารประเภทใดที่ดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน
ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำด้วยเพียงเท่านี้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะดีขึ้นแล้วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สมทรง นิลประยูร (นพ.)
ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องมีการควบคุมอาหาร เพื่อให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1
อาหารที่ห้ามรับประทาน
ได้แก่ น้ำตาลและขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศครีม และขนมหวานอื่นๆ
ประเภทที่ 2 อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน
ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่างเช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากใยอาหารที่เรียกว่า ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง
ระเภทที่ 3 อาหารที่รับประทานได้แต่ต้องเลือกชนิด หรือจำกัดจำนวน
ได้แก่ อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารจำพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผลทำให้ระดับไขมันสูง และเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ของไตเสียเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย ผลไม้นั้นต้องจำกัดจำนวน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารครั้งละ 1 ส่วน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การดูแลผู้ป่วยเป็นเบาหวาน เรื่องหารต้องควบคุมอะไรบ้างค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)