มีความเชื่อว่าการรับประทานมะนาวจะช่วยในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มานาน แต่ความเชื่อนี้เป็นจริงหรือไม่?
โภชนาการของมะนาว
มะนาวมีวิตามินซีมากพอ ๆ กับส้ม ทำให้มะนาว ส้มและผลไม้ในกลุ่ม Citrus ถูกนำไปรับประทานขณะออกเดินทางทางทะเลเพื่อป้องกันโรคลักปิดลักเปิด (ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามิน C) นอกจากนั้นมะนาวยังมีน้ำตาลเพียง 1/3 ของส้ม แต่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เท่ากัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มะนาวกับโรคเบาหวาน
สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาได้ใส่มะนาวไว้เป็นหนึ่งในรายการอาหารที่ดีเยี่ยม เนื่องจากมีเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำมาก และมีปริมาณวิตามิน C เยอะซึ่งจะช่วยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มะนาวยังมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และมีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่าอาจช่วยลดดัชนีน้ำตาลของอาหารชนิดอื่นได้ด้วย
แต่เมื่อย้อนกลับไปดูเรื่องงานวิจัยเกี่ยวกับผลที่ได้จากการกินมะนาวกับโรคเบาหวาน พบว่ายังมีอยู่จำกัด มีการศึกษาระดับ Meta-analysis ปี 2015 ภายในวารสาร Primary Care Diabetes ที่พบว่าการรับประทานผลไม้ในกลุ่ม citrus ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 งานวิจัยในปี 2014 จาก Advances in Nutrition ที่พบว่าผลไม้ในกลุ่มนี้มีสารที่ช่วยลดการอักเสบและต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น Flavonoids, Naringin และ Naringenin แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารเหล่านี้ในการรักษาโรคเบาหวาน
สารอาหาร 2 ชนิดในมะนาวที่ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- เส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber): อาหารที่มีเส้นใยมากจะช่วยลดระดับน้ำตาลได้ เส้นใยอาหารเหล่านี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โดยการลดความดันโลหิตและระดับ Cholesterol และช่วยลดน้ำหนัก
- วิตามิน C: วิตามิน C เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย สารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำลายเซลล์และเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนมีระดับวิตามิน C ที่ต่ำ เนื่องจากวิตามิน C มีส่วนในการสร้าง Collagen ซึ่งช่วยทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงมีความแข็งแรง และช่วยในผู้ป่วยที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือดหรือมีการทำลายเส้นเลือดแดง มีการศึกษาบางชิ้นที่พบว่าวิตามิน C สามารถช่วยลดระดับน้ำตาล ไขมันชนิด Triglyceride, Cholesterol ระดับน้ำตาลสะสม และการอักสบได้ และอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ด้วย อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามิน C ที่มากเกินไป โดยเฉพาะจากอาหารเสริมอาจทำให้เกิดอันตรายได้
คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ควรสอบถามทีมแพทย์ก่อนการเพิ่มปริมาณมะนาวในรายการอาหารหรือวางแผนที่จะใช้มะนาวในช่วยเรื่องสุขภาพ และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้มะนาวและปริมาณที่เหมาะสม คุณไม่จำเป็นต้องรับประทานน้ำมะนาวจำนวนมากเพื่อให้ได้ประโยชน์จากมะนาว
- มะนาวอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้ หากคุณมีอาการนี้ คุณควรลดปริมาณที่รับประทานลง
- น้ำมะนาวสามารถกัดกร่อนสารเคลือบฟันและเพิ่มการรับความรู้สึกบริเวณฟัน ดังนั้น ควรใช้หลอดค่อย ๆ ดูดขณะรับประทานน้ำมะนาวหรือน้ำผลไม้
- เปลือกมะนาวมีสาร Oxalate ในปริมาณที่สูง การรับประทานสารนี้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดนิ่วในไตและมีอาการปวดจากการอักเสบได้
- มะนาวสามารถออกฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ ดังนั้นควรรับประทานน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ไม่ขาดน้ำ
- สามารถใช้น้ำมะนาวแทนเกลือในการเพิ่มรสชาติให้อาหารได้
- บีบมะนาวลงบนผักใบเขียว ร่วมกันการใช้น้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษเป็นน้ำสลัด หากต้องการรสชาติเพิ่มเติม ลองเข้าไปดูที่ สูตรน้ำสลัดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานของ Lemony