September 08, 2019 16:37
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ในคนที่ป่วยเป็นโรคแพนิคนั้นถ้าหากอยู่ในช่วงที่มีอาการรุนแรงมากจริงๆผู้ป่วยก็มักจะมีความกังวลเป็นอย่างมากที่จะออกไปไหนมาไหนคนเดียว เนื่องจากกลัวว่าอาการแพนิคจะกำเริบและไม่มีใครให้ความช่วยเหลือครับ
อย่างไรก็ตามในระยะยาวนั้นเป้าหมายในการรักษาก็จะต้องเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยกล้าที่จะออกจากบ้านด้วยตัวคนเดียว และสามารถรับมือกับอาการแพนิคด้วยตังเองได้ครับ
การรักษาโรคแพนิคโดยส่วนใหญ่นั้นแพทย์มักจะเริ่มจากการให้ยามาเพื่อช่วยลดความกังวลต่ออาการแพนิคของผู้ป่วยก่อน แต่ถ้าหากรับประทานยามานานแล้วการรักษายังไม่ได้ผลดี ก็อาจต้องอาศัยการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง เข้าใจอาการที่เกิดขึ้น และมีความกล้าที่จะออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการแพนิคครับ
ถ้าหากอาการแพนิคที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยมากก็อาจลองไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อพิจารณาถึงทางเลือกในการรักษาเหล่านี้ดูได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคแพนิค เป็นโรคในกลุ่มวิตกกังวลชนิดหนึ่ง หากมีความวิตกกังวลในระดับที่มากเกินปกติ จะกระตุ้นให้ระบบประสาทในร่างกายตื่นตัวทำงานไวขึ้น ทำให้มีอาการผิดปกติแสดงออกทางกาย เช่น ใจเต้นแรง หายใจไม่อิ่ม มือเท้าชา หน้ามืด เป็นลม ได้ และอาการของแพนิคผู้ป่วยจะไม่สามารถทำนายได้ว่าอาการจะเกิดขึ้นตอนไหน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกกลัวที่จะอยู่คนเดียว กลัวที่จะออกไปไหนมาไหนคนเดียว บางคนไม่กล้าทำงานหนัก เพราะกังวลว่าจะมีอาการกำเริบเกิดขึ้น จนส่งผลให้เกิดความทุกข์ใจกับอาการและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การแก้ไขเบื้องต้น ให้ตั้งสติ ควบคุมความวิตกกังวลให้ได้ ด้วยการฝึกผ่อนคลาย เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ ทำไปเรื่อยๆ และบอกตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากความวิตกกังวล หากทำให้ความวิตกกังวลลดลง อาการทางกายก็จะสงบลง และอาการแพนิคไม่ได้เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต แต่หากยิ่งวิตกกังวลกลัวกับอาการที่เกิดขึ้น อาการผิดปกติทางกายก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นค่ะ
ในรายที่มีอาการรุนแรง คุณหมออาจให้ยาเพื่อช่วยคลายวิตกกังวล ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายทางจิตใจ ค่ะ
ในกรณีที่เป็นผู้ใกล้ชิด เราควรให้กำลังใจ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ วิธีการรักษา โรคแพนิคที่ถูกต้อง ชวนทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย พยายามชวนออกไปไหนมาไหน ให้เขาได้เกิดการเรียนรู้ว่าการออกไปข้างนอกไม่ใช่สาเหตุทำให้เกิดแพนิค (แต่สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากความวิตกกังวลกลัวของเขาเอง) สิ่งสำคัญควรดูแลให้ผู้ป่วยทานยาสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างรักษาให้พบแพทย์ก่อนนัดนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะ พอดีอยากสอบถามเรื่องโรคแพนิค เรามีญาติป่วยเป็นโรคแพนิคมาเกือบๆ2ปีแล้ว อาการจะเป็นๆหายๆ แต่เขาทานยาตลอด ล่าสุดเขาบอกกับที่บ้านว่าหมอไม่ให้ออกไปไหนต้องอยู่บ้านรักษาตัว3อาทิตย์ คือเราเป็นห่วงเรื่องการใช้ชีวิตของเขามากๆ ไม่ว่างจะต้องทำอะไร เขาจะอ้างโรคนี้ขึ้นมาตลอดเพื่อไม่ทำนู้นทำนี่ ที่บ้านก็จะยอมให้เขาอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำงาน โรคนี้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติมั้ยคะ คนที่เป็นแพนิคทุกคนอาการหนักแบบนี้มั้ยคะ เขาชอบเก็บตัวอยู่ในห้องมืดๆ นอนดึก ตื่นสาย วนลูปอยู่แบบนี้เลยคะ รบกวนช่วยให้คำปรึกษาหน่อยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)