October 23, 2019 00:16
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดท้องตอนเป็นประจำเดือนอย่างรุนแรงแลบที่ไม่เคยมีอาการในลักษณะนี้มาก่อนนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- เนื้องอกมดลูก
- มีซิสต์ในรังไข่
เป็นต้น
ซึ่งการยืนยันสาเหตุที่แน่ชัดก็จะต้องอาศัยการตรวจภายในร่วมกับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำให้ไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
จากประวัติมีอาการปวดท้องน้อยในช่วงมีประจำเดือน 1-2 วันแรก ปวดหนักมากจนเดินไม่ไหว มีอาการหน้ามืดและเป็นลม อาการปวดหนักเป็นมา 2-3 เดือน ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน ซึ่งหมออาจคิดถึงการปวดประจำเดือนที่ตรวจพบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานได้ เช่น มีเนื้องอกในมดลูก มีถุงน้ำในรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ ปีกมดลูกอักเสบ มีพังผืดในช่องท้อง ใส่ห่วงอนามัยหรือห่วงคุมกำเนิด มดลูกย้อยไปด้านหลังมาก เป็นต้นค่ะ
ยังไงหมอแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบสูตินารีแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มค่ะ แพทย์จะทำการตรวจภายใน และอาจทำการตรวจพิเศษร่วมด้วย เช่น ตรวจเลือด ส่งชิ้นเนื้อ ตรวจอัลตราซาวน์ เอกซเรย์ เป็นต้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีคะ ขอสอบถามอาการเบื้องต้น เนื่องจากมีอาการปวดท้องน้อยในช่วงมีประจำเดือน 1-2 วันแรก ปวดหนักมากเดินไม่ไหว ถึงขั้นหน้ามืดและเป็นลม จะปวดหนัก 2-3 นาทีคะ อาการปวดหนักเป็นมา 2-3 เดือนแล้วคะ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยคะ ปัจจุบันอายุ 39 ปี มีลูก 2 คน ไม่มีโรคประจำตัวคะ อยากทราบอาการเบื้องต้นคำแนะนำ และถ้าไป รพ ควรตรวจอะไรเพิ่มเป็นพิเศษ หรือไม่ ขอบพระคุณคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)