May 17, 2018 14:15
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
ผิวหนังที่สวยใสตามธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ แต่ละคนมีความสวยในแบบของตัวเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขาวก็ได้ ก็สามารถสวยเป็นเอกลักษณ์ได้ค่ะ วิธีการที่หมอจะแนะนำ เป็นการรักษาใบหน้าของเรา ให้คงสวยตามแบบของเรานะคะ
1.รักษาความสะอาดค่ะ ล้างหน้าอย่างน้อยวันละสองครั้ง รวมถึงสิ่งที่ต้องสำผัสใบหน้าของเรา เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หมอน ผ้าห่ม ถ้าสะอาดจะลดการเกิดสิวคะ
2.การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า ถ้าเป็นคนผิวแพ้ง่าย ควรเลือกสำหรับผิวแพ้ง่ายค่ะ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ควรมีมาตรฐาน ตรวจสอบได้ แบะเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพผิวของเราค่ะ นอกจากเครื่องสำอางที่ต้องเลือกแล้ว แปรง พัฟต่างๆที่ใช้ควรทำความสะอาดบ่อยๆ ป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวค่ะ
3.ทาครีมกันแดด อันนี้สำคัญมากๆนะคะ เพราะนอกจากรังสียูวี จะทำให้เกิด ฝ้าและกระแล้ว ยังทำให้หน้าเหี่ยวเร็วอีกด้วยค่ะ
4.ทาครีมเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ใบหน้าแห้งขาดความชุ่มชื้นค่ะ
5.หากมีสิว ไม่ควรแกะเกา จะทำให้เป็นแผลและหลุมและรอยดำค่ะ
6. ออกกำลังกายเป็นประจำค่ะ
7.ทำจิตใจให้แจ่มใสเสมอค่ะ หน้าจะได้ไม่เหี่ยว
8.ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ตามธรรมชาติ ถ้าเราทานเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมหน้าใสใดๆ เพราะในผักผลไม้ก็มีมากอยู่แล้ว แถมไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ด้วยค่ะ
9.นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
10.ดื่มน้ำมากๆค่ะ ผิวของเราจะอวบอิ่มไม่ขาดน้ำค่ะ
11.รักษาสุขภาพปากและฟันค่ะ ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง สุขภาพปากและฟันที่ดีจะช่วยส่งเสริมบุคลิกของเราค่ะ
ถ้าทำได้ครบ หมอเชื่อว่าทั้งสุขภาพของเรา ใบหน้าของเรา จะต้องดีขึ้นแน่ๆนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ภก. ธีรศิลป์ โยมา (เภสัชกร)
เบื้องต้นแนะนำให้ทาครีมกันแดดนะครับ เพราะแสงแดด จะกระตุ้นให้เม็ดสีใต้ผิวหนังเข้มขึ้นได้ ทำให้หน้าเราไม่คล้ำกว่าปกติที่ควรจะเป็น จริงๆแล้ว ครีมบำรุงอื่นๆจะไม่ใช้ก็ได้ แต่ครีมกันแดดค่อยข้างแนะนำ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังอีกด้วยครับ
ครีมกันแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สารกันแดดแบบเคมี และสารกันแดดแบบกายภาพ
--สารกันแดดแบบเคมี (Chemical Absorbers) ครีมกันแดดประเภทนี้จะปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับแสงแดดที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีบนผิวหนัง สารกันแดดชนิดนี้มีประสิทธิภาพต่างกันไปตามชนิดของสารกรองแสงที่ช่วยป้องกันรังสียูวีเอ (Ultraviolet A) และรังสียูวีบี (Ultraviolet B) ทั้งนี้ สารกันแดดแบบเคมีมักไม่คงทน รวมทั้งก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้
--สารกันแดดแบบกายภาพ (Physical Blockers) ครีมกันแดดที่ผสมสารกันแดดแบบกายภาพ จะปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีจากแสงแดดออกไป สารกันแดดชนิดนี้ป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบี ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกับผิวหนัง อย่างไรก็ตาม สารกันแดดแบบกายภาพจะมีเนื้อครีมที่ข้นและเหนียวเหนอะหนะ
--ประเภทตามบริเวณที่ใช้ทา ครีมกันแดดมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ซึ่งอาจแบ่งประเภทตามบริเวณที่ใช้ทาครีมกันแดด โดยทั่วไปแล้ว ครีมกันแดดจะมีทั้งแบบโลชั่น ครีม เจล ขี้ผึ้ง สเปรย์ หรือผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่น ๆ เลือกให้เหมาะมกับตัวเอง ดังนี้้
แบบครีม เหมาะใช้ทาบริเวณใบหน้าและผู้ที่มีผิวแห้ง
แบบเจล เหมาะสำหรับทาบริเวณที่มีขน เช่น หนังศีรษะหรือหน้าอกของผู้ชาย
แบบแท่ง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแบบแท่ง อาจผสมสารกันแดดร่วมด้วย ซึ่งเหมาะใช้ทาบริเวณที่อยู่รอบดวงตา
แบบสเปรย์ สารกันแดดในรูปแบบสเปรย์อาจนำมาใช้ทากันแดดให้แก่เด็ก เนื่องจากทาได้ง่าย โดยควรทาสารกันแดดเพื่อปกป้องผิวในปริมาณที่เพียงพอ และไม่ควรสูดดมหรือฉีดสเปรย์ใกล้วัตถุไวไฟหรือขณะที่สูบบุหรี่
นอกจากนี้ ยังมีครีมกันแดดที่ผลิตขึ้นมาสำหรับเด็กหรือผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ รวมทั้งผสมสารป้องกันแสงไว้ในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ ซึ่งควรใช้ตามวัตถุประสงค์หลักของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่ควรนำมาใช้เพื่อป้องกันแสงแดด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีวิธีทำให้หน้าขาวไหมคะ หน้าคล้ำแดด หน้าบาง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)