8 ข้อผิดพลาดของการใช้ครีมกันแดดที่ต้องระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 ข้อผิดพลาดของการใช้ครีมกันแดดที่ต้องระวัง

อย่างที่เราทราบกันดีว่า การทาครีมกันแดดเป็นวิธีที่ช่วยปกป้องผิวของเราจากแสงแดด ทำให้หลายคนพกครีมกันแดดทุกครั้งเมื่อไปเที่ยวทะเล หรือทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจพบว่าตัวเองยังคงประสบปัญหาผิวไหม้ หรือปัญหาผิวอื่นๆ ที่เกิดจากแสงแดด ซึ่งบางทีอาจเป็นเพราะว่าคนเหล่านี้ใช้ครีมกันแดดไม่ถูกวิธี สำหรับข้อผิดพลาดที่เราอาจเผลอทำตอนใช้ครีมกันแดดมีดังนี้

1. ทาครีมกันแดดไม่เพียงพอ

การทาครีมกันแดดให้ได้ 2 มิลลิกรัมต่อผิว 1 ตร.ซม. หรือ 1 แก้วช็อต ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งค่า SPF หรือมีชื่อเต็มว่า Sun Protection Factor คือตัวเลขที่บอกว่าครีมกันแดดสามารถป้องกันไม่ให้ผิวไหม้จากรังสียูวีบีได้ดีเท่าไร หากคุณทาครีมกันแดด 2 มิลลิกรัมต่อผิว 1 ตร.ซม. ถ้าครีมกันแดดมีค่า SPF 30 มันก็จะป้องกันรังสียูวีบีได้ 96.7% แต่ถ้าคุณทาครีมกันแดดเพียงแค่ครึ่งเดียวของจำนวนดังกล่าว ครีมกันแดดก็จะป้องกันรังสียูวีบีได้ประมาณครึ่งเดียวเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ทาครีมกันแดดแค่เวลาออกนอกบ้าน

รังสียูวีเอสามารถส่องทะลุผ่านทางกระจก อย่างไรก็ดี รังสียูวีเอเป็นตัวการที่ทำให้เกิดริ้วรอย ในขณะที่รังสียูวีบีทำให้ผิวไหม้ ซึ่งการใส่แว่นตากันแดดสามารถป้องกันรังสียูวีบีได้เกือบทั้งหมด ในขณะที่รังสียูวีเอสามารถทะลุผ่านเข้ามาในดวงตาได้ ดังนั้นให้คุณทาครีมกันแดด หรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่สามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบีก่อนที่จะขึ้นรถหรืออยู่ในห้องที่มีแสงอาทิตย์สาดส่องเข้ามา

3. สันนิษฐานว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงจะติดทนที่ผิวนานกว่า

แม้ว่าคุณจะใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 100 ขึ้นไป แต่การทาครีมกันแดดซ้ำอย่างสม่ำเสมอก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ไม่ได้ทำให้ครีมกันแดดติดทนนานขึ้น ซึ่งค่า SPF ใช้บอกได้แค่ว่าครีมกันแดดสามารถป้องกันรังสียูวีบีได้เท่าไร แต่ไม่ได้บอกระยะเวลาที่ปกป้อง ดังนั้นไม่ว่าครีมกันแดดจะมีค่า SPF เท่าไร คุณก็ยังต้องทาครีมกันแดดซ้ำบ่อยๆ

4. ใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุ

เราไม่ควรใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุแล้ว หากครีมกันแดดของคุณไม่ได้ระบุวันหมดอายุ คุณควรโยนมันทิ้งลงถังขยะหลังครบ 3 ปี ในขณะที่ครีมกันแดดบางยี่ห้อก็มีการระบุวันหมดอายุไว้ชัดเจน หากคุณใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุแล้ว คุณก็จะไม่ได้รับการปกป้องดีเท่าที่คาดหวังไว้ หรือมันอาจทำให้ผิวระคายเคือง

5. ทาครีมกันแดดเมื่อออกไปนอกบ้าน

ครีมกันแดดใช้เวลาประมาณ 15 นาที ในการซึมเข้าผิว ดังนั้นการทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งเราควรทาครีมกันแดดประมาณ 15 นาที ก่อนสัมผัสกับแสงแดด เพราะอย่างที่เราบอกไปว่าการที่ครีมกันแดดจะทำงานได้เต็มที่นั้น มันต้องใช้เวลา 15 นาที ในการซึมเข้าผิว แต่หากคุณทาครีมกันแดดในขณะที่ออกไปนอกบ้าน ในระยะเวลา 15 นาที ที่ครีมกันแดดยังไม่ซึมเข้าผิว ถ้าคุณมีผิวที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือดัชนีรังสียูวีมีค่าสูง มันก็จะทำให้ผิวไหม้ได้

6. ใช้ครีมกันแดดเมื่อดัชนียูวีมีค่าสูงเท่านั้น

โรคมะเร็งผิวหนัง หรือปัญหาผิวอื่นๆ ที่เกิดจากแสงแดดนั้นสามารถเป็นผลจากการสัมผัสกับแสงแดดโดยไม่ได้ตั้งใจในช่วงเวลาสั้นๆ แม้ว่าค่าดัชนียูวีจะมีค่าต่ำก็ตาม ทั้งนี้แม้ว่ารังสียูวีเอจะมีค่าเพียงเล็กน้อย แต่หากสะสมเป็นเวลานาน มันก็สามารถทำให้ DNA เสียหาย และหากไม่ได้รับการฟื้นฟู มันก็จะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ในที่สุด

7. ทาครีมกันแดดไม่ทั่วบริเวณ

มีหลายคนที่ลืมทาครีมกันแดดที่หลังหัวเข่า หู ใกล้ดวงตา คอ และหนังศีรษะ ซึ่งล้วนแต่เป็นบริเวณที่ไม่สามารถต้านทานแสงแดด อย่างไรก็ดี เมื่อทาครีมกันแดด คุณควรมั่นใจว่าได้ทาทุกส่วนที่จะได้สัมผัสกับแสงแดด นอกจากบริเวณที่เรากล่าวไปแล้ว คุณก็อย่าลืมทาครีมกันแดดที่ริมฝีปาก มือ และฝ่าเท้าด้วยค่ะ

8. ลืมทาครีมกันแดดซ้ำ

ไม่ว่าคุณจะใช้ครีมกันแดดแบบโลชั่น สเปรย์ หรือแท่ง และไม่ว่าคุณจะใช้ชนิดที่กันน้ำได้หรือเป็นครีมกันแดดปกติ คุณจำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำ ทั้งนี้การทาครีมกันแดดครั้งเดียวจะช่วยปกป้องผิวของคุณได้เพียงแค่ประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น และมันอาจน้อยลงถ้าคุณใช้เวลาอยู่ในน้ำ

แม้ว่าครีมกันแดดจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันไม่ให้แสงแดดทำร้ายผิว แต่หากคุณรู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งที่เรากล่าวไปเป็นประจำ คุณก็ควรหลีกเลี่ยง เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากครีมกันแดดได้อย่างเต็มที่

ที่มา: https://qsun.co/10-sunscreen-m...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป