กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

8 ข้อผิดพลาดที่คุณอาจเผลอทำเมื่อใช้มอยส์เจอไรเซอร์กับใบหน้า

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
8 ข้อผิดพลาดที่คุณอาจเผลอทำเมื่อใช้มอยส์เจอไรเซอร์กับใบหน้า

เมื่อพูดถึงการดูแลผิว “มอยส์เจอไรเซอร์” ถือเป็นหนึ่งในสกินแคร์ที่หลายคนเลือกใช้ เพราะอย่างที่รู้กันว่า เจ้าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ช่วยเปลี่ยนผิวที่แห้งกร้านให้กลับมาชุ่มชื้นอีกครั้ง ทั้งนี้คุณสามารถได้รับประโยชน์จากการใช้มอยส์เจอไรเซอร์ทุกวันถ้าคุณเลือกได้เหมาะสมและทาถูกวิธี  แต่อาจมีบางคนที่พลาดตรงจุดนี้ และนั่นก็จะทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากมอยส์เจอไรเซอร์อย่างเต็มที่ สำหรับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้

8 ข้อควรระวังการใช้มอยส์เจอไรเซอร์

1. ไม่ได้ทดสอบก่อนใช้

ก่อนที่คุณจะใช้มอยส์เจอไรเซอร์ ถ้าเป็นไปได้ คุณควรทดสอบก่อนใช้เหมือนกับตอนที่คุณเทสเฉดสีของลิปสติกและอายแชโดว์ที่หลังมือก่อนซื้อ ทั้งนี้ Dendy Engelman แพทย์ผิวหนัง แนะนำให้คนไข้ทาครีมที่คอเพียงเล็กน้อยนาน 1 สัปดาห์ก่อนที่จะทาทั้งใบหน้า การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าครีมไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน เกิดอาการแพ้ หรือมีสิวขึ้น ถ้าคุณไม่อยากทดสอบผลิตภัณฑ์ คุณก็ควรตรวจสอบว่าครีมที่คุณจะใช้มีส่วนผสมที่ทำให้ผิวระคายเคืองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น AHAs BHAs เรตินอล ฟอร์มาลดีไฮน์ พทาเลท สารสกัดโบทานิคอล ฯลฯ สำหรับคนที่รู้ตัวว่ามีผิวบอบบาง คุณควรเลี่ยงครีมที่มีน้ำหอม พาราเบน และน้ำมันหอมระเหย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว

ครีมมอยส์เจอไรเซอร์ที่ดีที่สุดคือ ครีมที่ตอบโจทย์ความต้องการของผิวได้ และการที่คนอื่นใช้ครีมชนิดนั้นๆ แล้วได้ผลก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเวิร์คสำหรับคุณ ไม่ว่าคุณจะใช้มอยส์เจอไรเซอร์สูตรเจล ครีม โลชั่น ขี้ผึ้ง หรือโฟม สิ่งสำคัญคือ คุณควรรู้ว่ามันมีส่วนผสมชนิดใดที่ช่วยแก้ปัญหาผิวที่คุณกำลังเผชิญได้ ถ้าคุณมีผิวแห้ง ให้คุณมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีกรดไฮยาลูรอนิกและเซรามายด์ เพราะมันสามารถช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นและทำให้สภาพผิวดีขึ้น ถ้าคุณมีผิวมัน มอยส์เจอไรเซอร์ในรูปแบบของเจล เซรั่ม หรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดน้ำมันถือเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนที่ผิวมีโอกาสเกิดสิวง่าย คุณควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์ น้ำมันหนัก หรือปิโตรลาทัม แต่ให้คุณใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของสารที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันไม่ให้สิวบุก ตัวอย่างเช่น อะแดพาลีน เบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ กรดซาลิซิลิก เป็นต้น

3. ใช้แค่ออยล์

แม้ว่าออยล์มีสรรพคุณช่วยเติมความชุ่มชื้น และบรรเทาปัญหาผิวแห้งและผิวระคายเคือง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราสามารถนำออยล์มาใช้แทนมอยส์เจอไรเซอร์ที่คุณใช้ประจำได้ "มอยส์เจอไรเซอร์มีสารดูดความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันเป็นหลักมีสารหล่อลื่นที่เพียงแค่รักษาผิวในระดับพื้นผิว" อธิบายโดย Lily Talakoub แพทย์ผิวหนังจาก McLean Dermatology and Skincare Center ด้วยเหตุนี้เธอจึงแนะนำให้ทาออยล์ทับมอยส์เจอไรเซอร์ที่คุณทาเป็นประจำทั้งตอนกลางวันและกลางคืน

4. ทามอยส์เจอไรเซอร์ตอนผิวแห้ง

มอยส์เจอไรเซอร์จะมีประสิทธิผลมากที่สุดตอนที่ผิวของคุณมีความชื้นค่ะ เพราะผิวที่ชื้นจะดูดซึมและกักเก็บความชื้นได้นานขึ้น ดังนั้นถ้าอยากเห็นผลลัพธ์ชัดเจนที่สุด ให้คุณทามอยส์เจอไรเซอร์ทันทีหลังทำความสะอาด แต่ต้องทาก่อนที่ผิวจะแห้งสนิท ถ้าคุณทามอยส์เจอไรเซอร์หลังจากผ่านไป 3-4 นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง มันก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่คุณอาจไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

5. ทาผลิตภัณฑ์ผิดชั้น

การที่คุณจะได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์มากที่สุด ซึ่งหมายความรวมถึงมอยส์เจอไรเซอร์ คุณจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกลำดับชั้นด้วยค่ะ คุณควรเริ่มทาผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อเบาที่สุดก่อน แล้วค่อยไล่ระดับไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่มีความหนาที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีสิวและกำลังอยู่ในช่วงใช้ยาแต้มสิว ให้คุณเริ่มจากการล้างหน้า ทายารักษาสิว และทามอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของครีมกันแดด หรือถ้าคุณใช้เซรั่ม คุณก็ควรใช้คลีนเซอร์เป็นอันดับแรก แล้วค่อยใช้เซรั่ม และมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของครีมกันแดดตามลำดับ

6. ไม่ได้ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีค่า SPF ในตอนเช้า

การทาครีมกันแดดเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าวันนั้นจะมีเมฆหนาหรือฝนตก การทาครีมกันแดดก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นค่ะ เพราะการสัมผัสแสงแดดแม้เป็นเพียงแค่ระดับต่ำ แต่หากเกิดต่อเนื่องไปตลอดช่วงชีวิต มันก็สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย ดังนั้นคุณควรใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของ SPF ทุกเช้าก่อนออกไปนอกบ้าน

6. ขัดผิวที่แห้งแทนที่จะเติมความชุ่มชื้น

เมื่อเราเห็นผิวที่หม่นหมองและมีสะเก็ด สิ่งที่เราอาจทำคือ การสครับใบหน้า หรือลอกผิวเพื่อทำให้ผิวเนียนเรียบน่าสัมผัส แต่บางทีผิวของคุณแค่ต้องการความชุ่มชื้นก็ได้ค่ะ  การที่ผิวของคุณมีสะเก็ดมาก นั่นก็หมายความว่าผิวของคุณขาดน้ำ และการขัดผิวในเวลานี้สามารถทำให้ชั้นผิวถูกทำลายและทำให้เกิดการอักเสบ อีกทั้งยังทำให้สภาพผิวแย่กว่าเดิม ทั้งนี้ให้คุณทามอยส์เจอไรเซอร์เพื่อทำให้ผิวกลับมาชุ่มชื้นอีกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

7. ถูมอยส์เจอไรเซอร์แรงเกินไป

คุณควรใช้มอยส์เจอไรเซอร์นวดที่ผิวอย่างเบามือ การนวดผิวสามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็จะช่วยให้การดูดซึมผลิตภัณฑ์ดีขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าคุณถูผิวแรงเกินไป มันก็จะทำให้เกราะคุ้มกันผิวอ่อนแอ และทำให้เกิดการอักเสบ สุดท้ายแล้วคุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากบรรดาแบคทีเรียและเชื้อรา และนำไปสู่การเกิดผิวบอบบางและผิวระคายเคือง

8. ใช้มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับกลางวันในตอนกลางคืน

ผิวของคุณจะมีการซ่อมแซมในตอนกลางคืน  โดยจะมีการผลัดเซลล์และฟื้นฟูผิวในขณะที่การนอนอยู่ในขั้น REM ด้วยเหตุนี้คุณควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งบรรดาไนท์ครีมจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการปลอบปะโลมและซ่อมแซมผิว ตัวอย่างเช่น เรตินอล เปปไทด์ เป็นต้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับกลางคืนจะมีความหนาและบำรุงผิวได้ล้ำลึกมากกว่า ดังนั้นคุณควรใช้มอยส์เจอไรเซอร์แต่ละชนิดให้ถูกเวลา

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณจะเห็นได้ว่า การเลือกมอยส์เจอไรเซอร์ และวิธีการทานั้นมีความละเอียดอ่อนมากกว่าที่เราคิด ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เรากล่าวไป เพื่อให้เห็นผลลัพธ์การใช้งานหรือได้รับประโยชน์สูงสุดค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ayren Jackson-Cannady, mistakes-you-may-make-when-using-moisturizer-with-faces (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/features/acne-treatment-mistakes#1)
SAM ESCOBAR, mistakes-you-may-make-when-using-moisturizer-with-faces (https://www.goodhousekeeping.com/beauty/anti-aging/a32363/common-moisturizer-mistakes/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป