March 23, 2017 20:13
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
เบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติต้ว อย่างไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มี สอง ลักษณะคือ
มารดาเป็นเบาหวานมาก่อนแล้ว ก่อนตั๋งครรภ์ อีกลักษณะคือ ไม่ได้เป็นเบาหวานมาก่อน แต่มาเป็นขณะที่ตั้งครรภ์
ผลเสียสำคัญของภาวะเบาหวานต่อการตั้งครรภ์นั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งมารดาและทารกในครรภ์
ผลเสียต่อมารดาที่เพิ่มขึ้นมา คือ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
ส่วนผลเสียต่อทารกในครรภ์นั้น โอกาสที่จะแท้งบุตรอาจสูงขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิดความพิการแต่กำเนิดสูงขึ้น รวมถึงทารกอาจมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดลำบาก และมีโอกาสเกิดอันตรายระหว่างการคลอดได้สูงขึ้น นอกจากนั้นในระยะหลังคลอด อาจเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ,ตัวเหลือง, ระดับเกลือแร่ต่างๆ ผิดปกติไปได้อีกด้วย
จะเห็นว่า อันตรายเพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต ทั้งมารดาและทารก
มารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะกำลังตั้งครรภ์ จึงต้องอยู่ในการควบคุมดูแลรักษาของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งแพทย์จะควบคุมเบาหวานคือ น้ำตาลในเลือด ไม่ให้มากจนเกิดอันตราย อาจต้องใช้วิธีฉีดอินซูลิน และจะต้องคอยเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
มารดา จึงควรต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ดูแลอย่างเคร่งครัด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาล โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงคาเฟอีน อาหารมัน รสจัด และแนะนำดื่มน้ำช่วงพักระหว่างมื้อ มากกว่าดื่มในช่วงมื้ออาหาร การออกกำลังอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ดีขึ้น ดีกว่าควบคุมอาหารอย่างเดียว
หากทำแล้วระดับน้ำตาลยังไม่ดีเราจะใช้อินซุลินครับ
ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลครับ ทำใจให้สบายไม่ต้องเครียดถึงแม้เรามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์แต่หากดูแลตัวเองดี ปรึกษาคุนหมอตลอดเวลาตั้งครรภ์ ก็จะทำให้ผลแทรกซ้อนน้อยลงมากครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน ต้องปรับสภาพอย่างไรให้ร่างกายและสภาพจิตใจแข็งแรง และไม่กังวลคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)