November 03, 2019 21:43
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดเมื่อยตามร่างกายหลังการนั่งทำงานเป็นเวลานานนั้นอาจเกิดจากการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ครับ ซึ่งการบรรเทาอาการในเบื้องต้นนั้นก็สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ควรมีการลุกขึ้นมาเปลี่ยนอิริยาบถยืดเส้นยืดสาย 5-10 นาที ทุกๆ 1-2 ชั่วโมงที่นั่วทำงาน และก็อาจรับประทานยาแก้ปงดเพื่อบรรเทาอาการได้ครับ ซึ่งถ้าหากอาการไม่ได้รุนแรงมากการปฏิบัติตามนี้ 1-2 สัปดาห์ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ครับ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดมากขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมก่อนครับ
ส่วนอาการปัสสาวะออกมามีสีขุ่น ปัสสาวะแสบขัดนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มน้ำน้อยหรือการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานได้ครับ ถ้าหากอาการเริ่มดีขึ้นแล้วหมอก็แนะนำว่าควรดื่มน้ำให้มากๆและไม่กลั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงขึ้นหรือกลับมาเป็นซ้ำอีกก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจปัสสาวะยืนยันสาเหตุและให้การรักษาเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เมื่อประมาณ*วันพุธ*ที่ผ่านมามีอาการปวดหลังบริเวณเอวด้านขวาและปวดตามกล้ามเนื้อด้านขวาของร่างกาย(ตั้งแต่หัวถึงเท้าด้านขวา) และเวลาปัสสาวะก็มีอาการปวดๆตอนใกล้เสร็จ ปัสสาวะมีกลิ่นและสีขุ่น สาเหตุที่สงสัยที่มีส่วนคืออาจเป็นเพราะ 1.นั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน(ถนัดด้านขวา)(ทำงานช่วงปิดเทอม) 2.ดื่มน้ำน้อย 3.พึ่งมีเพศสัมพันธ์เมื่อ*วันจันทร์*ที่ผ่านมา ***อาการตอนนี้ก็ปวดๆกล้ามเนื้อตามร่างกายด้านขวา(ตั้งเเต่หัวไปถึงเท้า)เหมือนเดิมโดยเฉพาะบริเวณเอวด้านขวา ส่วนเรื่องการปัสสาวะอาการเริ่มดีขึ้นไม่เจ็บตอนปัสสาวะแล้วสีและกลิ่นปกติแล้ว ****1.อยากให้คุณหมอช่วยวินิจฉัยอาการที่เกิดโรคหน่อยค่ะ 2.และอยากรู้ว่ามีวิธีที่จะทำให้หายหรือบรรเทาไหมคะ 3.และมีระยะเวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)