July 06, 2019 02:13
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่เป็นอาการที่สืบเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็ก แต่ไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ต่อเนื่อง
สาเหตุเกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติส่งผลต่อการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าทีในการควบคุมกระบวนการคิด การจัดการ วางแผนบริหารในเรื่องต่างๆ
อาการ แบ่ง เป็น 2 กลุ่มอาการได้แก่
1. เหม่อลอย ขี้ลืม มักจะไม่รอบคอบ จัดลำดับขั้นตอนการทำงานไม่ได้ ยากลำบากในการจัดการระบบงานต่างๆ ขาดสมาธิ ทำอะไรนานๆไม่ได้ เผลอทำของหายบ่อย และมักจะหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ ขี้ลืม เป็นต้น
2. กลุ่มไฮเปอร์ ได้แก่ ไม่นิ่ง นั่งสั่นขา ขยับตัวหรือเคาะโน่นนี่ตลอดเวลา นั่งไม่ติดที่ รู้สึกอึดอัดอยากเปลี่ยนอิริยาบท ดูคึกคักตลอดเวลา พูดเยอะ มักตัดบทสนทนาและเปลี่ยนเรื่องเร็ว แย่งคนอื่นพูด เบื่อง่าย ขาดความยั้งคิด ทำตามใจตัวเอง อารมณ์ขึ้นลงง่าย มักมีปัญหาขัดแย้งกับคนรอบข้างบ่อยๆ เครียด หงุดหงิดง่าย บางคนอาจมีปัญหาเรื่องการนอนและมีภาวะซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมการใช้สุรา/สารเสพติดตามมาได้
การรักษาจะใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสอง ทำให้สมองส่วนหน้าทำงานได้เป็นปกติ สามารถควบคุม ยับยั้งความคิด อารมณ์และพฤติกรรมได้ดีขึ้น มีสมาธิจดจ่อต่อสิ่งต่างๆได้นานขึ้น นอกจากนั้นในรายที่มีปัญหาด้านอารมณ์อาจต้องใช้ยาเพื่อรักษาทางด้านอารมณืร่วมด้วย
นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว อาจต้องใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วยค่ะ เช่น จัดตารางเวลา จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ ฝึกทำกิจกรรมต่างๆให้ช้าลงเพื่อลดความหุนหันพลันแล่น หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น กาเฟอีน เป็นต้น
ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น แนะนำพบจิตแพทยื ประเมินอากาเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในส่วนของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ครับ ดังนั้นหากแฟนรู้ตัวว่าตนเองเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยได้ก็คือการรับประทานยาและการฝึกเพื่อช่วยให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ การฝึกการฟัง เป็นสิ่งหนึ่งที่แฟนของคุณสามารถทำได้เลยครับ อาจจะตั้งข้อตกลงกัน เพราะหากเขาเป็นแบบนี้กับคนอื่นๆด้วย แน่นอนว่าก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หรือการเข้าสังคมนะครับ
แต่อย่างไรก็ตาม โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่นี้ควรได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์นะครับ พยายามอย่าทำการวินิจฉัยด้วยตนเอง เพราะอาการของโรคมีบางอาการที่ทับซ้อนกับโรคอื่นๆได้ครับ โดยผมได้แนบบทความมาไว้ด้านล่างนี้ ถ้าหากว่าต้องการเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวโรคก็สามารถทำได้ครับ
https://www.honestdocs.co/adhd/attention-deficit-disorder-adhd-in-adults
ซึ่งหากรู้สึกว่าพฤติกรรมที่แฟนเป็นค่อนข้างตรงก็ควรที่จะเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปนะครับ สุดท้ายนี้หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาการออกแนว ทนฟังผู้พูดไม่เคยจบ ชอบแทรกมากลางเรื่อง จึงทำให้สื่อสารไม่เคยเข้าใจกัน และ ยังมีอาการ พูดเยอะ พูดมาก แฟนเป็นค่ะและทุกครั้งที่ทะเลาะกันเค้าก็จะบอกว่าตัวเค้าเป็นสมาธิสั้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)