May 29, 2018 18:04
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลย ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา มีหลายอย่างค่ะ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่นทยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด
5.ไม่มีการตกไข่ ซึ่งพบบ่อยในช่วงวัยรุ่นทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ บางครั้งก็ไม่มาค่ะ
6.โรคทางการกินอาหารต่างๆ (eating disorder) เช่น anorexia ถ้าคนไข้มีปัญหาเรื่องไม่อยากกินอาหารมากๆ ผอมมากๆ ควรไปพบแพทย์นะคะ
****การบริจาคเลือด ไม่ได้เป็นสาเหตุของการที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาค่ะ แต่ข้อแนะนำที่ว่า ไม่ให้สตรีที่กำลังมีประจำเดือนบริจาคเลือด เนื่องจาก ขณะที่เรามีประจำเดือน จะมีการเสียเลือดอยู่แล้วค่ะ ถ้าเราบริจาคเลือดอีก จะทำให้เสียเลือดมากเกินไป คนไข้อาจมีอาการหน้ามืด เวียนศรีษะ และซีดลงได้ค่ะ ****
อย่างไรก็ตาม ประจำเดือนที่ไม่มาติดต่อกัน เกิน 3 เดือน ถือว่าเป็นภาวะไม่ปกติ แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย เพิ่มเติมค่ะ
และการลดความเครียด ผ่อนคลาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้สมดุลฮอร์โมนดีขึ้นทและช่วยในเรื่องของประจำเดือนด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
บริจาคเลือดเมื่อวันที่2ธันวาที่ผ่าน ประจำเดือนก็ยังไม่มาเลย แต่พึ่งมีเพศสัมพันธ์เมื่อวันที่4ที่ผ่าน กังวนว่าจะท้อวหรือป่าว
ปะจำเดือนมาตามเดือนปกติ หลังจากบริจากเลือดยังไม่มาเลยค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปะจำเดือนมาตามเดือนปกติ หลังจากบริจากเลือดยังไม่มาเลยค่ะ
ประจำเดือนไม่มา เกี่ยวกับเรา บริจาคเลือดรึปาวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)