October 21, 2019 00:21
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่ประจำเดือนมีปริมาณน้อยลงเรื่อยๆแลพมีอาการปวดท้องปวดหลังมากขึ้นนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้หลายสาเหตุครับ เช่น ความผิดปกติของระดับฮอร์โมนเพศ การมีซิสต์ในรังไข่ มีความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกหรือมดลูก ซึ่งในกรณีนี้ก็ควรมีการตรวจภายในเพื่อประเมินหาสาเหตุครับ
หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
พิชญาพร กูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ
อาการปวดประจำเดือน ปวดหลังขณะมีประจำเดือน เกิดจากการบีบรัดตัวของมดลูกค่ะ ส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นหากทานยาแก้ปวดค่ะ
ยาที่ใช้แก้ปวดเบื้องต้น อาจเป็นยาพาราเซตามอล และยากลุ่ม NSAID ที่หาซื้อได้ทั่วไป ได้แก่ ibuprofen, naproxen, mefenamic acid หรือ ponstan เป็นต้นค่ะ
วิธีบรรเทาอาการอื่นๆได้แก่ การใช้ถุงน้ำร้อนประคบ ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน โยคะ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ นอนตะแคง
หากอาการปวดยังคงมีอยู่แม้ทานยา อาจต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม เช่น โรคชอคโกแลตซิส (หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่) โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อมดลูก โรคติดเชื้อต่างๆค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปกติหนูเป็นประจำเดือน3วันมีอาการปวดท้องปวดหลัง แล้วลดลงมาเป็น2วัน มีอาการปวดท้องปวหลังเหมือนเดิมแต่จะปวดกว่าเดิม ช่วงหลังๆมาเป็นแค่วันเดียว ก็คือใช้ผ้าอนามัยแค่2-3แผ่น แถมยังมีอาการคลื้นไส้เวียนหัวเพิ่มขึ้นมาอีก ส่วนอาการปวดท้องปวดหลังก็ยังคงปวดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม หนูอยากทราบว่าหนูเป็นอะไรเกี่ยวกับหมดลูกหรือเปล่าคะ แล้วหนูควรทำอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)