March 17, 2018 17:13
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การซึมซับความรู้สึกเศร้าหรืออินไปกับเหตุการณืเสร้าของเพื่อบ่อยๆโดยที่แยกไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา คุณก้มีโอกาสป่วยเป็นซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อรับฟังปัญหาของคนอื่นต้องยืนหยัดให้ได้ว่าเราช่วยเขาได้แค่รับฟัง ให้เขาได้ระบายออกมา คอยชี้แนะแนวทางที่เหมาะสมให้เขา ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนนั้นมันอีกเรื่องค่ะ ไม่อยากให้คุณคาดหวังกับการช่วยเหลือหรือรับฟังเขานะคะ วิธีที่สามารถจะช่วยเขาได้คือ ให้กำลังใจ แนะนำแนวทางที่ดี แนะนำให้ทานยาสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ตามนัด เพราะซึมเสร้าหากรักษาอย่างต่อเนื่องสามารถหายและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะ อยากรู้ว่าถ้ามีเพื่อนเป็นโรคซึมเศร้ามาสักระยะนึงแล้ว เราในฐานะที่ดป็นเพื่อนเขา คลอเคลียกับเขา อยู่กับเขาตลอดเวลา คอยให้คำปรึกษาเขา รับรู้ทุกอย่างเวลาที่เขามาระบาย มาปรึกษาความทุกข์ของเขาให้เราฟัง เราอยากรู้ว่า เราจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าด้วยไหมคะ //รู้ค่ะ ว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เราคิดว่าการที่เราให้คำปรึกษาเขา รับฟังความเศร้า ปัญหาต่างๆของเขา บางทีเรื่องราวของเขามันทำให้เราหน่วงใจไปมากๆเหมือนกัน จนเหมือนว่าเราอยากจะเศร้าแทนเขา มันกดดัน อยากให้เขาเอาความรู้สึกเศร้านี้ออกไปสักที บางทีนั่งฟังเรื่องที่เขาเล่า เรื่องโหดร้ายที่เขาไปเจอมา เราก็กลับมานั่งคิดและร้องไห้คนเดียว เราอยากรู้ว่า ถ้าเราเป็นแบบนี้บ่อยๆเรามีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)