March 27, 2019 06:22
สวัสดีค่ะ คำถามของคุณอาจกว้างเกินไป ทำให้คุณหมอไม่สามารถให้ความเห็นได้ กรุณาอธิบายอาการอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไร บริเวณไหน เป็นมานานและถี่แค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เพศ อายุ ยาหรืออาหารเสริมที่ทานอยู่ เป็นต้น หรือคุณอาจค้นหาคำตอบคุณหมอ และกว่า 5,000 บทความสุขภาพในเว็บของเรา หากคุณถามเกี่ยวกับโรงพยาบาล คุณสามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของโรงพยาบาลได้ที่นี่ หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการแพนิค เป็นอาการในกลุ่มโรควิตกกังวล อาการหลักๆ คือ เกิดจากความวิตกกังวลที่มีมากเกินปกติ กระตุ้นให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเร็วเกินไป เกิดอาการทางกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก มือเท้าชา หายใจไม่อิ่ม หน้ามืด เป็นลม ได้ค่ะ โดยทั่วไปผู้ป่วยแพนิคมักจะไม่ทราบสาเหตุของอาการ เมื่อมีอาการทางกายเกิดขึ้นจะยิ่งรู้สึกวิตกกังวลกลัวมากขึ้นจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แต่สุดท้ายส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่กล้าออกไปไหน เพราะกลัวจะไปมีอาการข้างนอก เพราะผู้ป่วยจะไม่คาดเดาได้ว่าจะมีอาการเกิดขึ้นตอนไหนค่ะ การรักษาจะรักษาด้วยยากลุ่มคลายวิตกกังวล ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายความเครียดซึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายคือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ จะช่วยให้จิตใจสงบลดอาการตื่นตระหนกได้ค่ะ แต่ในกรณีของคณยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าใช่อาการของแพนิคหรือไม่ เพราะกลุ่มโรควิตกกังวลมีหลายโรคย่อย เช่น วิตกกังวลทั่วไป วิตกกังวลตื่นตระหนก(แพนิค) วิตกกังวลกลัวสังคม วิตกกังวลกลัวบางอย่างที่เฉพาะ เป็นต้น ดังนั้นในกรณีนี้หากมีอาการบ่อยๆ จนรู้สึกว่าอาการนั้นเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แนะนำพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยแยกโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คันน้องสาวตัวเองแล้วมีกลิ่นมีน้ำสีเหลืองออกมา
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)