August 30, 2019 19:54
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ถ้าจุกแน่นบริเวณคอ มีแสบยอดอก เจ็บหน้าอก อาจจะเป็นกรดไหลย้อนได้ครับ ซึ่งโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารครับ
เบื้องต้น การปรับพฤติกรรม เช่น นอนศีรษะสูงขึ้นประมาณ15ซม. นอนในท่าตะแคงซ้าย รับประทานอาการให้ตรงเวลา งดรับประทานอาหารมื้อดึก หลีกเลี่ยงอาหารมัน เปรี้ยวจัด กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ๆ หยุดสูบบุหรี่ และลดความอ้วน ครับ
ดีที่สุด เป็นมานาน แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย อย่างละเอียด จะได้แยกจากโรคอื่นๆ และจะได้รักษาให้ถูกโรค อาการจะได้ดีขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หนูรู้สึกจุกแน่นอึดอัดที่บริเวณคอ ไม่แสบหน้าอกและไม่เจ็บตรงอื่น หงุดหงิดและรำคาญอยู่ที่บริเวณลำคอที่เดียว ค่ะหมอ
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สาเหตุที่ทำให้มีอาการจุกแน่นที่คอมีหลายสาเหตุครับ ทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย ได้แก่สาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้
➢ การแพ้ (Allergic reaction) อาการแพ้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อาหาร ยา และการถูกแมลงกัด/ต่อย ทำให้มีผื่นคันขึ้นตามลำตัวและส่วนต่างๆของร่างกายได้ นอกจากการมีผื่นแพ้แล้ว การแพ้ยังสามารถมีอาการได้ 4 ระบบของร่างกาย ประกอบด้วย 1.ระบบผิวหนังทำให้มีผื่นแพ้ 2.ระบบหายใจทำให้ทางเดินหายใจบวม หายใจติดขัด รู้สึกจุกแน่นภายในคอ 3.ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำให้มีอาการหน้ามืดหมดสติได้ และ 4.ระบบทางเดินอาหารทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลวได้ หากมีอาการแพ้ในระบบต่างๆของร่างกายตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ถือเป็นการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรจะรีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
➢ กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux; GERD) เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารไม่แข็งแรงทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนกลับจากกระเพาะอาหารขึ้นมายังบริเวณหลอดอาหารได้ ทำให้มีอาการจุกแน่นที่คอ แสบร้อนกลางอกและบริเวณคอ มีอาการเรอเปรี้ยว นอกจากนี้อาจพบมีอาการไอเรื้อรัง และเสียงแหบได้จากการที่กรดไปทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณหลอดลม และบริเวณกล่องเสียง
➢ การติดเชื้อ (Infection) เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) และการติดเชื้อภายในลำคออื่นๆ ทำให้มีอาการเจ็บแน่นภายในลำคอ กลืนเจ็บ มีไข้ได้
➢ ต่อมไทรอยด์โต (Goiter) ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณลำคอด้านหน้ากล่องเสียง หากต่อมนี้มีขนาดใหญ่จะทำให้คอบวม และรู้สึกแน่นบริเวณคอได้
➢ ความวิตกกังวล (Anxiety) ถึงแม้ความวิตกกังวลจะเป็นอาการทางจิต แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอาการทางกายได้ ตัวอย่างเช่น การเกิดอาการแพนิค (Panic attack) ทำให้รู้สึกจุกแน่น หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยหอบได้
สาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวไปเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นถ้าสงสัยหรือกังวลแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
จากข้อความที่หมอแนะนำมา มีสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวหนูคือ หนูอาจจะเป็นภูมิแพ้ เกี่ยวกับหลอดลมอักเสบ (*ไวต่อสิ่งกระตุ้น หมอที่รักษาหนูกล่าวไว้ อันนี้ยังไม่ได้ไปตรวจเลือดว่าแพ้อะไร) แต่ช่วงหน้าหนาว(*อากาศเย็น) ลามไปถึงหน้าฝน หรืออากาศเปลี่ยน หนูจะไอตลอด ถ้าได้ไอจะไอนานหลายเดือนและไอเป็นระยะๆ หนักบ้าง เบาบ้างสลับกันไปตามแต่สภาพของร่างกายและอากาศในแต่ละวัน / อีกอย่างหนูนอนไม่ค่อยหลับ เป็นแบบนี้มานานแล้วเหมือนกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากความเครียดเรื่องงาน ง่วงแทบตายพยายามข่มตาให้หลับก็ไม่หลับ อาการแบบนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็น กรดไหลย้อน หรือป่าวคะ หมอ
สวัสดีค่ะ คุณหมอ คือมีอาการแน่น,จุก ข้างในคอ เหมือนมีอะไรติดหรือขัดอยู่ข้างในคอ บางวันรู้สึกแน่นมากจนอึดอัด บางวันก็รู้สึกไม่ค่อยแน่นไม่ค่อยอึดอัด ถ้าเอานิ้วไปกดหรือจิ้มตรงที่เรารู้สึกมันก็จะรู้สึกแน่นมากอึดอัดมาก และอยากจะอ้วก บางวันมีอาการออกร้อนในลำคอ เป็นแบบนี้มาปีกว่าแล้ว อาการดังกล่าวบ่งบอกว่าเราเป็นโรคอะไรหรือป่าวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)