January 18, 2019 10:26
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
เวลาที่มีเรื่องให้ต้องปรับตัว มีความเครียดกับการทำงานก็ย่อมส่งผลให้เกิดอารมณ์ที่เปลี่ยนไปได้เป็นเรื่องปกติครับ แต่อารมณ์ดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ก็จะต้องประเมินอาการหลายๆอย่างประกอบกันครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในเบื้องต้นนั้นถ้าหากอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้รุนแรงก็อาจลองหาทางผ่อนคลายให้กับตนเองได้ โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมที่ชอบมาทำ ออกไปนอกบ้าน หาเพื่อนคุยและรับฟังปัญหาบ้าง ก็อาจส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นได้ครับ
แต่ถ้าหากอาการรุนแรงจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือการทำงาน หรือมีอาการหลายๆอย่างที่เข้าได้กับการเป็นโรคซึมเศร้าข้างต้น หมอก็แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การรักษาเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
สำหรับในเรื่องโรคซึมเศร้า ข้อมูลของโรคก็ตามที่คุณหมอได้คอมเม้นท์เลยนะครับ แต่จากที่เล่ามาผมสะดุดใจอย่างหนึ่งคือเรื่องของอาการที่เรียกว่า Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในงาน ซึ่งมักจะเป็นต้นตอที่จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามมาได้ โดยที่สาเหตุหลักๆ มาจากเรื่องที่ทำงาน
ทั้งนี้เพราะว่าชีวิตการทำงานถือเป็นสัดส่วนใหญ่ๆในชีวิตของคนวัยทำงานครับ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในที่ทำงาน โดยที่ปัญหานั้นไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง และส่งผลต่ออารมณ์ จิตใจ และความรู้สึกของพนักงาน ก็มักจะทำให้พนักงานรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากไปทำงาน รู้สึกว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรที่มีค่า ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะเป็นส่วนที่ทำให้คุณเกิดคำถามขึ้นมาว่า คุณจะย้ายงานดีหรือไม่
สำหรับคำแนะนำที่จะให้ได้ หากเป็นในส่วนของโรคซึมเศร้าก็อยากที่จะให้เข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือครับ การรีบเข้ารับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในขณะที่เรายังมีพลังงานอยู่ ก็จะช่วยให้อารมณ์ของเรากลับมาสู่สภาวะปกติที่เราพอใจได้เร็วขึ้นครับ แต่หากเป็นในเรื่องการทำงาน ตรงนี้ผมแนะนำว่าให้ลองทบทวนกับตนเอง เขียนข้อดีและข้อเสียของที่ทำงานปัจจุบัน จากนั้นลองมาคิดดูครับว่าหากเราตัดสินใจที่จะย้ายงาน เราจะรู้สึกอย่างไร
ผมยังแนะนำอีกวา่คุณสามารถที่จะลองสมัครงานที่ใหม่เตรียมไว้ได้นะครับ เพื่อดูว่ามีที่ไหนตอบรับ เพื่อจะได้นำข้อดี ข้อเสียของที่ทำงานใหม่มาร่วมใช้ในการตัดสินใจได้ การเปลี่ยนงานเป็นเรื่องที่น่ากังวลในบางครั้งแต่หากเราเตรียมตัวได้ดี การปรับตัวในที่ทำงานใหม่ ก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้นครับ
สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามาถรสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความรู้สึกเบื่อหน่ายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และมักจะมีอาการแค่ชั่วคราว เมื่อตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหายใจ สภาวะอารมณ์และความรู้สึกก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้ค่ะ หรือ อาจใช้ระยะเวลาในการปรับต่อต่อสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเบื่อได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์ -1 เดือน แต่หากเกินระยะเวลา 1 เดือนไปแล้วยังคงรู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัด เครียด ปรับตัวไม่ได้ ใชชีวิตประจำวันโดยไม่มีความสุข แบบนี้ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตหากไม่ได้รับการแก้ไขหรือเยียวยาให้ถูกวิธีก็จะนำไปสู่โรคทางจิตเวช
ในกรณีที่มีอาการเบื่อ รู้สึกไร้ค่า เครียดกับงาน แนะนำผ่อนคลายความตึงเครียด ด้วยการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ชอบ ฝึกปรับความคิด ปล่อยวาง และโฟกัสที่ตัวเองว่าเราจะทำอะไรก็ได้แต่สิ่งนั้นต้องไม่ทำให้ตัวเองและคนรอบข้างเดือดร้อน
แต่หากมีความรู้สึกเบื่อ ไร้ค่า โดยที่มีอาการขึ้นมาเองโดยไม่มีตัวกระตุ้นแบบนี้อาจเป็นอาการของโรคทางจิตเวชซึ่งมีสาเหตุมาจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ซึ่งควรต้องพบจิตแพทย์ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้หลั่งสมดุล ทำให้ความคิด อารมณ์ เป็นปกติ ปรับตัวต่อเหตุการณ์ต่างๆได้เหมือนคนทั่วไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผมไม่ได้อยาก define ตัวเองว่าเป็นโรคอะไร แต่ผมแค่อยากหายจากอาการ ที่มีแนวโน้มจะเป็นซึมเศร้า ชื่อมันดูน่ากลัวจัง 555 แต่คือไม่ผมอยากทำงาน รู้สึกไม่ค่อยมี value เหนื่อยๆ ไม่ค่อยมีพลังงานเลยครับ แต่ผมเชื่อว่าผมจะหายนะ แต่ไม่รู้จะทำยังไง อาจจะเป็นเพราะที่ทำงาน เกี่ยวมั้ยครับ? ย้ายงานแล้วจะดีขึ้นมั้ย? ยังไงก็แล้วแต่ บางทีอาจจะแค่อยากระบายให้ผู้เชี่ยวชาญฟังน่ะครับ เผื่อจะได้คำแนะนำดีๆ ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)