October 13, 2019 16:02
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์ที่มีการใช้ถุงยางอนามัยนั้นถ้าหากใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 2% เท่านั้น ในกรณีนี้จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการตั้งครรภ์มากครับ
ส่วนหลังการรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนโดยเฉลี่ยแล้วประจำเดือนจะมาในวันที่ 3 หลังหยุดยา แต่ก็มีบางคนที่ประจำเดือนอาจมาช้าออกไปได้ถึง 7 วันครับ ในตอนนี้จึงอาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้
แต่หลังจากนี้ถ้าหากประจำเดือนยังไม่มาจริงๆหมอก็แนะนำให้ลองตรวจการตั้งครรภ์ดู โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
1. ถ้าใช้ถุงยางถูกต้อง และตรวจสอบแล้วว่าไม่รั่วซึมหรือฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% ตามผลป้องกันของถุงยาง ซึ่งถือว่าน้อยมากจนไม่น่าจะกังวลค่ะ
2. หากไม่มีการตั้งครรภ์ ประจำเดือนควรจะมาหลังหยุดใช้ยาเลื่อนประจำเดือน 2 - 3 วัน แต่ก็อาจคลาดเคลื่อนจากนั้นเล็กน้อย ดังนั้น แนะนำให้รอดูไปก่อนนะคะ ประจำเดือนน่าจะมาภายใน 7 วันหลังหยุดยาค่ะ
ถ้าไม่มีประจำเดือนมา ให้ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยชุดทดสอบทางปัสสาวะ ในตอนเช้าหลังตื่นนอน ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 14 วันนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
1.หนูมีอะไรกับแฟนช่วงที่ประจำเดือนใกล้มาแต่แฟนใส่ถุงยางแล้วนำมาหลั่งออกข้างนอกค่ะจะท้องไหมค่ะ? 2.ในระหว่างที่รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนแล้วปวดหน่วงที่อวัยวะเพศ แต่พอรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนครบแล้วแล้วรอให้ประจำเดือนมาครบ3วันแล้ว ทำไมประจำเดืนยังไม่มาค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)