May 17, 2019 20:42
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งนอกมีโอกาสที่จะมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 4-27% ครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำให้หายาคุมฉุกเฉินมารับประทานให้เร็วที่สุดก่อน โดยให้รับประทานภายในเวลาไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์เพื่อช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ลง 75-85% โดยยิ่งรับประทานยาได้เร็วมากเท่าไหร่ โอกาสตั้งครรภ์ก็ยิ่งลดลงไปมากเท่านั้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กินยาปรับฮอโมนดีไหมค่ะ เพราะทุกเดือนประจำเดือนมาไม่ปกติ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การรับประทานยาปรับฮอร์โมนจะไม่มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีนี้ครับ ในตอนนี้หมอแนะนำให้รับประทานยาคุมฉุกเฉินให้เร็วที่สุดก่อนครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แต่2เดือนที่ผ่านเพิ่งกินไป หากกินอีกจะมีผลข้างเคียงไหมค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดอาจมีได้หลายอย่าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม ตกขาวมากขึ้น อารมณ์แปรปรวน เลือดออกกระปริดกระปรอยระหว่างรอบเดือน และการรับประทานยาคุมฉุกเฉินที่ห่างกัน 2 เดือนแล้วจะไม่ส่งผลให้ยาเสริมฤทธิ์กันและทำให้มีผลข้างเคียงที่มากขึ้นครับ
เนื่องจากในกรณีนี้ได้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันไปแล้วจึงสามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินอีกครั้งได้ครับ
แต่การรับประทานยาคุมฉุกเฉินก็ไม่ใช่วิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพดีมากนัก หลังรับประทานยาคุมฉุกเฉินไปแล้วจะลดโอกาสตั้งครรภ์ลงได้ 75-85% เท่านั้น ดังนั้นในครั้งต่อไปที่จะมีเพศสัมพันธ์หมอก็แนะนำให้มีการป้องกันทุกครั้งเพื่อให้มีความปลอดภัยจากการตั้งครรภ์มากขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากตรวจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ควรตวรวิธีใดที่ได้ผลดีที่สุดค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้าต้องการตรวจการตั้งครรภ์ให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำมากที่สุดจะต้องตรวจโดยการใช้ผลเลือดซึ่งต้องตรวจในโรงพยาบาลครับ การตรวจวิธีนี้จะสามารถเริ่มตรวจได้เมื่อห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 10 วัน และจะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 99% ครับ
แต่ถ้าหากต้องการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองโดยใช้ชุดตรวจปัสสาวะก็จะไม่ได้ให้ผลตรวจที่แตกต่างกันมากนักครับ โดยวิธีนี้จะเริ่มตรวจได้เมื่อห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและต้องใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ซึ่งก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากทราบว่ายาคุมกำเนิดกับยาปรับฮอโมนเหมือนหรือต่างกันค่ะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ยาคุมกำเนิดกับยาปรับฮอร์โมนไม่ใช่สิ่งเดียวกันสักทีเดียวครับ ยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อปรับฮอร์โมนได้ แต่ยาสำหรับปรับฮอร์โมนโดยตรงก็มักจะไม่มีฤทธิ์คุมกำเนิดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีประจำเดือนล่าสุด 9 เมษาค่ะ หลั่งนอกวันที่14 พ.ค. ประจำเดือนขาดมาประมาณ 7 วัน มีโอกาศท้องไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)