January 24, 2017 14:57
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
เป็นเบาหวาน ก็สามารถดูแลตนเองโดยไม่ต้องกินยาได้
-ลดหรืองดอาหารหวาน แป้ง อย่ากินอาหารหรือผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาล(Glycemic index)สูง งดดื่มแอลกอฮอล์
-ถ้าอ้วน ต้อง ลดน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามดัชนีมวลกาย (BMI- Body Mass Index)
-ออกกำลังกายแบบแอโรบิก (หรือ cardiovascular exercise) ให้หนักเพียงพอ สม่ำเสมอ
ทั้งนี้ต้องติดตาม(monitor) ดูไปตลอด เป็นระยะ ๆ ด้วยว่า สามารถ ควบคุมเบาหวานได้ดีจริงหรือไม่ คือ ใช้เกณฑ์ว่า น้ำตาลในเลือดตอนอดอาหาร (ฺFBG - Fasting Blood Sugar)ไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%) น้ำตาลสะสมหรือน้ำตาลแฝง (Hb A1c - Hemoglobin A1c) ควรไม่เกิน 6.5-7 %
*****************************************************************
ถ้าควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะเกิดผลเสียกับสุขภาพร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน
เกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานอย่าง
น้อย 5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้ที่ควบคุมระดับน้้าตาลใน
เลือดไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ก้าหนด โดยภาวะแทรกซ้อน
ดังกล่าวแบ่งออกเป็น
1. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก ได้แก่
1.1 ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา
1.2 ภาวะแทรกซ้อนที่ไต
1.3 ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เส้นประสาท
2. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ ได้แก่
2.1 โรคหลอดเลือดหัวใจ
2.2 โรคหลอดเลือดสมอง
2.3 โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัย
ส่งเสริมให้เกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก
ภาวะแทรกซ้อนที่ไต
เป็นสาเหตุส้าคัญของการเจ็บป่วยและเป็นสาเหตุหนึ่ง
ของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และ
เบาหวานชนิดที่ 2 อุบัติการณ์และการด้าเนินโรคของ
ภาวะแทรกซ้อนที่ไต มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับ
น้้าตาลในเลือด และการควบคุมระดับความดันโลหิต
อาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่ไต
ระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่จะ
ตรวจพบโปรตีนอัลบูมินหรือไข่ขาวรั่วออกมา
ในปัสสาวะปริมาณเล็กน้อย คือ ตรวจพบ
โปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะประมาณ 30 - 300
มิลลิกรัมต่อวัน
ระยะต่อมาเมื่อปริมาณโปรตีนรั่วออกมามากขึ้น อาจ
สังเกตพบปัสสาวะเป็นฟองและมีอาการบวมได้ ในระยะนี้ จะ
ตรวจพบความดันโลหิตสูงร่วมด้วย (ปริมาณโปรตีนอัลบูมินใน
ปัสสาวะระยะนี้จะมีปริมาณมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน)
หลังจากนั้นถ้ายังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะส่งผล
ให้การท้างานของไตลดลงและเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในที่สุด
จนต้องรักษาด้วยการฟอกเลือด หรือล้างไต
ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท
ท้าให้ผู้ป่วยมีอาการชาที่ปลายเท้า ซึ่งเป็นปัจจัย
ส่งเสริมให้เกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะ
ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันร่วมด้วย ซึ่งจะ
ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดนิ้วหรือตัดขาบางส่วน อัน
เป็นสาเหตุของการเกิดทุพพลภาพในอนาคต ปัจจัยเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท ได้แก่ ระดับ
น้้าตาลในเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่
เป็นต้น
อาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่
เส้นประสาท
ผู้ป่วยอาจมีอาการชาที่ปลายมือปลายเท้าทั้งสอง
ข้าง โดยระยะแรกบางรายจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน
หรือปวดเหมือนถูกแทง ส่วนใหญ่อาการมักจะเกิดตอน
กลางคืน ในระยะต่อมาอาการปวดจะลดลง แต่จะรู้สึกชา
และการรับสัมผัสลดลง นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการ
อ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาได้
ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา
ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ประมาณร้อยละ 8
ของผู้ป่วยตาบอดมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ดังนั้นถ้า
ผู้เป็นเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้้าตาลให้อยู่ใน
เกณฑ์ที่เหมาะสม จะท้าให้มีภาวะแทรกซ้อนที่จอ
ประสาทตา และมีโอกาสที่จะตาบอดสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็น
เบาหวานเกือบ 30 เท่า
อาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่ตา
- สายตามัวลงซึ่งเกิดจากการหักเหแสงของเลนส์ผิดปกติ
ในขณะที่น้้าตาลในเลือดสูง หรือเกิดจากต้อกระจก หรือ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาที่เรียกว่า
“เบาหวานขึ้นตา” ซึ่งภาวะดังกล่าว ถ้าไม่ได้รับการ
รักษาที่เหมาะสม จะท้าให้ผู้ป่วยตาบอดได้
- เห็นเงาด้าบังเวลามองภาพ ซึ่งเกิดจากมีเลือดออก
ในน้้าวุ้นลูกตา
- มองเห็นภาพซ้อน เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองท้างานผิดปกติ
http://www.si.mahidol.ac.th/sdc/admin/knowledges_files/25_44_1.pdf
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เป็นเบาหวานอยู่แต่ไม่ได้กินยาเลย จะมีผลยังไงคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)