September 17, 2019 09:53
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดจี๊ดที่บริเวณท้องใต้สะดือร่วมกับมีอาการปัสสาวะแสบขัดที่เป็นอยู่บ่อยๆนั้นอาจเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ครับ ซึ่งถ้าหากมีอาการนี้เกิดขึ้นบ่อยๆก็ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุว่ามีปัจจัยใดมากระตุ้นให้เกิดอาการซ้ำครับ เช่น มีการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ มีโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ ต่อมลูกหมากโต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันต่ำ
ส่วนอาการปวดตื้อที่บริเวณทวารหนักนั้นก็อาจเกิดจากโรคบางอย่างที่บริเวณทวารหนักหรือลำไส้ได้ครับ เช่น ริดสีดวงทวาร มีแผลที่ทวารหนัก ท้องผูก การทีก้อนเนื้อที่ผิดปกติบางอย่าง
หมอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการหาสาเหตุเพิ่มเติมดูอีกครั้งก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สวัสดีครับ ผมอายุ 23 ปี สูง 175 นำ้หนัก 69 ไม่มีโรคประจำตัวใดๆครับ ผมมีอาการปวดสองเเบบคือปวดจี๊ด กับ ปวดตื้อๆครับ 1.อาการปวดเเบบจี๊ดๆตรงบริเวณท้องด้านล่างเลยสะดือลงมาประมาณ 2 นิ้ว เป็นมามากกว่า1ปีเเล้วครับ จะรู้สึกเจ็บจี๊ดๆจุดนั้นชัดเจนมากตอนที่ท้องป่องเพราะปวดฉี่หรือมีลมมากครับเเต่ถ้าไม่ปวดฉี่ หรือท้องไม่ป่องมากก็ไม่ปวดอะไรครับ 2.มีอาการปวดตื้อๆหน่วงๆตรงบริเวณข้างในรูทวาร, ตรงบริเวณขอบรูทวาร (อาการปวดเเบบตื้อๆ บางทีลามไปถึงด้านหลังช่วงเอว) จะรู้สึกไม่สบายจุดพวกนี้มากตอนใกล้นอนครับ อาการอื่นๆ °ท้องมีลมมากจนรู้สึกเหมือนตัวเองท้องป่องเกือบตลอดเวลา (เเต่เฉลี่ยเเล้วผายลมน้อยกว่า20ครั้งต่อวันครับ) °ฉี่เเสบขัด(อันนี้เป็นๆหายๆมาตลอดพร้อมกับอาการปวดท้องครับ) °มีอาการหมดเเรง อ่อนเพลียมาพร้อมกับอาการเหล่านี้ครับ เเต่นำ้หนักไม่เปลี่ยนเเปลง ผมเคยไปตรวจกับหมอ หมอบอกว่าเป็น prostatistis non bacteriaครับ(มีการultrasoundบริเวณท้องด้านล่างสะดือ เเละ ตรวจฉี่) เมื่อปีที่ผ่านมา ผมควรไปตรวจอะไรเพิ่มรึป่าวครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)