May 29, 2019 12:36
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าชัวร์ว่าเป็นประจำเดือนก็ไม่ท้องครับ เพราะช่วงประจำเดือนมาไม่มีไข่ตกครับ
ถ้าเดิมประจำเดือนมาสม่ำเสมอ เเล้วมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อน7วันจนถึงหลัง7วันนับจากประจำเดือนมาวันเเรก เป็นระยะปลอดภัยไม่มีไข่ตก โอกาสท้องเเทบไม่มีครับ
เเต่ถ้าเดิมประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้กะช่วงเวลาตกไข่ยาก หรือประจำเดือนมาสม่ำเสมอเเต่มีเพศสัมพันธ์ช่วง14วันนับจากวันเเรกที่ประจำเดือนรอบนั้นมา จะเป็นช่วงไข่ตก โอกาสท้องมากขึ้นครับ
ถ้าเดิมไม่ได้กินยาคุมหรือฉีดยาคุม\ฝังยาคุม เเละยังไม่เกิน120ชม. นับจากการมีเพศสัมพันธ์ ครั้งนี้ให้พิจารณายาคุมฉุกเฉินครับ
......
- ถ้าก่อนหน้านี้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ มีเพศสัมพันธ์ช่วง ก่อน7วันถึงหลัง7วัน นับจากวันที่ประจำเดือนมาวันเเรก จะเป็นระยะปลอดภัย ไม่มีไข่ตก โอกาสท้องน้อยมาก ก็อาจไม่ต้องกินยาคุมฉุกเฉินก็ได้ครับ
......
- เเต่ถ้าเดิมประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ กะเวลาตกไข่ยาก หรือมีเพศสัมพันธ์ช่วงที่ไม่ใช่ระยะปลอดภัย โดยเฉพาะ14วันนับจากประจำเดือนมาวันเเรก จะเป็นช่วงไข่ตก โอกาสท้องจะมากกว่า กรณีนี้เเนะนำยาคุมฉุกเฉินครับ
............
ยาคุมฉุกเฉินซื้อได้ตามร้านขายยา ถ้ายังไม่เกิน 72 ชม (บางตำราให้120ชม) ก็ถือว่ายังมีประสิทธิภาพครับ.
หลังรับประทานยาจะมีเลือดออกทางช่องคลอดได้ ประมาณ ภายใน1 สัปดาห์หลังกินยา ซึ่งไม่ใช่เลือดประจำเดือน
ส่วนประจำเดือนจะมาไกล้เคียงกับรอบประจำเดือนปกติ เเต่อาจมาเร็วหรือช้ากว่ารอบเดือนปกติได้ 1-3สัปดาห์
ดังนั้น หากเกิน3สัปดาห์ไปเเล้วจากวันที่ประจำเดือนควรจะมา
ให้ไปตรวจการตั้งครรภ์นะครับ
ให้รับประทานยาคุมฉุกเฉิน ชนิด 2เม็ด เช่น Postinor หรือ Madonna ได้สองวิธี
1.รับประทานทันที 2 เม็ด
2.รับประทาน 1 เม็ดทันที เเละรับประทาน เม็ดต่อไป ในอีก 12 ชม.
สองวิธีประสิทธิภาพไม่เเตกต่างกัน (หรือชนิด 1 เม็ด เช่น Maple forte ก็กินเม็ดเดียวไปเลยครับ)
วิธีเเรกสะดวก แต่อาจเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้มากกว่า
วิธีที่สอง อาการคลื่นไส้อาเจียนน้อย เเต่ต้องดูเวลาดีๆ ครับ
.............
หากอาเจียนภายใน 2 ชม.หลังกินยา ต้องกินใหม่นะครับ เพราะยายังไม่ได้ดูดซึม
หากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินภายใน 12-24 ชม.แรกของการมีเพศสัมพันธ์ จะคุมกำเนิดได้ประมาณ 85% รับประทานภายใน 72 ชม. ประมาณ 75%
ส่วนถ้าเกิน 72 ชม.แต่ยังไม่เกิน 120 ชม. จะประมาณ 60% ครับ
สรุปคือยิ่งรับประทานช้า จะยิ่งมีโอกาสท้องครับ
การจะให้ชัวร์ว่าไม่ท้องก็ต้องรอประจำเดือนจริงๆมาครับ ซึ่งก็อาจจะเลื่อนได้จากผลของยา หากต้องการตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจได้เร็วที่สุด2สัปดาห์หลังมีเพศสัมพันธ์ครับ ระหว่างนี้ถ้ามีเพศสัมพันธ์ใช้ถุงยางไปก่อนครับ
เเละการคุมกำเนิดโดยการคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่ควรใช้เกินสองแผงต่อเดือนครับ
...........
หลังจากนี้ถ้าชัวร์ว่าไม่ท้องเเละประจำเดือนมาเเล้ว เเนะนำเลือกวิธีคุมกำเนิด เช่น ยาคุมรายเดือน ฝังยาคุม ฉีดยาคุม หรือใช้ถุงยางอนามัยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประจำเดือนแต่ล่ะเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอค่ะ ตอนนี้มีอะไรครบเดือนแล้วค่ะ ประจำเดือนไม่มา คือประจำเดือนมันจะมาช่วงต้นกับปลายเดือนค่ะ จะประมาณนี้ แต่เดือนนี้ไม่มาเลยค่ะ ไม่ได้กินไม่ได้ฉีดเลยค่ะ
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
กรณีนี้เเนะนำตรวจการตั้งครรภ์ครับ
- ชุดตรวจมีหลากหลายครับ ในรายละเอียดอาจจะต่างกันบ้าง ให้ดูตามคำเเนะนำในกล่องน่าจะดีที่สุดแต่โดยทั้วไปก็คือให้ปัสสาวะใส่ภาชนะ จุ่มที่ทดสอบลงไประยะเวลาหนึ่ง เอาขึ้นมาตั้ง รอเวลา แล้วจึงอ่านผล
- วิธีการเก็บปัสสาวะตรวจก็มีผลต่อการแปลผลมาก
ผลจะแม่นที่สุดควรจะต้องเป็นปัสสาวะครั้งแรกตอนเช้าที่เพิ่งตื่นนอนมาเพราะจะเป็นปัสสาวะที่เข้มข้น ถ้ามี hCG อยู่ก็จะตรวจพบได้ง่ายกว่า
- ชุดตรวจส่วนใหญ่จะแสดงผลเป็นขีดๆ โดยขีดแรกเป็นเส้น control จะต้องขึ้นเสมอไม่ว่าจะท้องหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นแปลว่าที่ตรวจนั้นเสีย ส่วนขีดที่สองถึงจะเป็นตัวบอกว่ามี hCG อยู่
...........
ดังนั้น สองขีดคือท้อง
...........
ขีดเดียวคือไม่ท้อง ถ้าไม่มีซักขีดคือชุดตรวจเสียครับ
โดยปกติประจำเดือนสามารถมาเร็วมาช้าได้บวกลบ7วันครับ ถ้ายังไม่เกิน7วันหมอว่ายังรอไปก่อนได้ครับ
ปกติจะมาประมาณ2-6วัน ปริมาณประมาณ 20-60ml
.............
การที่ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือขาด อาจเกิดได้จากความเครียด ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ,การตั้งครรภ์
หรือเกิดได้จากโรคอื่นๆ กรณีที่ประจำเดือนขาดนานๆ หรือมาไม่สม่ำเสมอครับ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่อาการคือ ประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับพบลักษณะของฮอรโมนเพศชาย(มีสิว มีขนเยอะ) หรือ บางครั้งความผิดปกติของต่อมใต้สมองซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ครับหากประจำเดือนขาดนานๆ ร่วมกับบีบหัวนมเเล้วมีน้ำนมไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการตกไข่ผิดปกติจากสาเหตุของรังไข่เอง
.............
หากเดิมประจำเดือนมาปกติ เเล้วประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยที่ตรวจเเล้วไม่ท้อง (ปกติประจำเดือนขาดก็ตรวจได้เเล้วครับว่าท้องหรือไม่) หรือ ไม่ได้มีความเครียดอื่นๆ ควรไปพบสูตินรีเเพทย์ครับ อาจพิจารณารับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ร่วมกับหาสาเหตุด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ไม่ทราบว่าหลังประจำเดือนมาวันที่ 26-27 เมษายนได้มีเพศสัมพันธ์กันอีกหรือไม่คะ ถ้าเลือดนั้นเป็นประจำเดือนจริงคือไม่ใช่เลือดออกกะปริบกะปรอย เลือดออกนาน3-7วัน เลือดออกเต็มผ้าอนามัย ใช้ผ้าอนามัยวันละ 2-4แผ่น เลือดออกลักษณะคล้ายกับประจำเดือนครั้งก่อนๆ ก็จะคิดถึงว่าเป็นเลือดจากประจำเดือนค่ะ ถ้าใช่เลือดประจำเดือนและหลังจากนั้นไม่มีเพศสัมพันธ์อีก ก็จะไม่ตั้งครรภ์ค่ะ แต่ถ้าเลือดออกกะปรอบกะปรอยไม่แน่ใจว่าเป็นเลือดจากประจำเดือนหรือไม่ หรือมีเพศสัมพันธ์หลังจากนั้นแล้วประจำเดือนยังไม่มาแนะนำให้ตรวจการตั้งครรภ์จากปัสสาวะค่ะ โดยสามารถตรวจได้ในตอนเช้าหรือปัสสาวะแรกของวันจะได้ผลที่น่าเชื่อถือมากที่สุดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หนูเป็นคนประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอค่ะ มาไม่ตรงกันในแต่ล่ะเดือน คือเมื่อวันที่ 25 เมษายน หนูได้มีอะไรกับแฟนหนู แล้ววันที่ 26-27 ประจำเดือนมา หนูอยากทราบว่ามีโอกาสท้องหรือป่าวค่ะ โอกาสท้องสูงไหมค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)