February 14, 2017 14:55
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่/ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
อาการเด่นของโรค คือ รู้สึกปวดอยากปัสสาวะรุนแรงอย่างฉับพลันและไม่สามารถกลั้นไว้ได้ ทำให้ปัสสาวะเล็ด/ราด/ ปัสสาวะบ่อยเกินผิดปกติ โดยไม่มีการติดเชื้อหรือพยาธิสภาพทางกายอื่นๆ
สาเหตุ เกิดจากระบบประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อขับปัสสาวะไวเกินปกติ หรือ เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะไม่เพียงพอจนเกิดภาวะขาดเลือดและนำไปสู่ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะบกพร่อง การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะบ่อยๆก็เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวิตกกังวล สมาธิสั้น สมองเสื่อม สามารถเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน(การทำงานของสารสื่อประสาทบกพร่อง)
แนวทางในการรักษา
1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการค่อยๆลดปริมาณนํ้า/ของเหลวที่ดื่ม และ รับประทานผักผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบแทน และงดการรับประทานสารที่กระตุ้นให้ปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย
2.การฝึกกลั้นปัสสาวะ โดยค่อยๆยืดระยะเวลาการไปถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งให้นานขึ้นทีละน้อย ร่วมกับการให้ยาที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
3.การบริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรง โดยการขมิบกล้ามเนื้อหูรูดอย่างแรงเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ ค้างไว้นานประมาณ 5 วินาที แล้วหยุดขมิบ 10 วินาที , แล้วทำซ้ำ 10 ครั้ง ในตอนเช้า กลางวันและเย็น ทำทุกวันค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งของการขมิบเป็น 15 ที, 20 ทีวันละ3 ครั้ง และเพิ่มเป็น 20 ทีวันละ4 ครั้ง และควรทำอย่างสม่ำเสมอและสามารถบริหารได้ทุกที่ ต่อมาเมื่อเข้าห้องน้ำถ่ายปัสสาวะให้ลองถ่ายเพียงครึ่งหนึ่งแล้วหยุดด้วยการขมิบอย่างแรงลองดูว่าสามารถกลั้นปัสสาวะได้หรือยัง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
ฝึกขมิบช่องคลอดก่อนค่ะ ถ้าไม่ทุเลาควรไปพบแพทย์ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สมทรง นิลประยูร (นพ.)
ถ้ากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ลองใช้วิธีการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือการขมิบช่องคลอดนั่นเอง การทำไปนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแข็งแรง ช่วยพยุงบริเวณหูรูดปัสสาวะให้แข็งแรงขึ้น วิธีการทำมีดังนี้
- ครั้งแรกให้ฝึกขมิบช่องคลอดเพื่อหยุดปัสสาวะขณะที่กำลังถ่ายปัสสาวะ แล้วจำความรู้สึกนั้นไว้ (มีข้อห้ามที่ไม่ควรฝึกขมิบหลังตื่นนอนทันที เพราะมีน้ำปัสสาวะคั่งมาตลอดคืน)
-ต่อไปฝึกขมิบช่องคลอด โดยขมิบแล้วกลั้นไว้ นับ 1 ถึง 10 ต่อจากนั้นให้คลายการขมิบ นับเป็น 1 ครั้ง ทำเป็นชุดๆละ 30 ครั้ง เวลาใดก็ได้ที่สะดวก ทำ 3 เวลาต่อวัน นาน 3-6 เดือน
*ทั้งนี้ หากดูแลปฏิบัติด้วยตนเองไป 6 เดือนแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น สมควรที่จะไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ฉี่อั้นไม่ได้จะทำอย่างไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)