August 22, 2019 15:57
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนปกติ จะมีลักษณะดังนี้ค่ะ
1. มาสม่ำเสมอ ทุก 24-35 วัน โดยส่วนใหญ่ จะมาทุก 28 - 30 วันค่ะ
2. มาครั้งละ 3-7 วันค่ะ
3. ใช้ผ้าอนามัย วันละ ประมาณ 2-3 แผ่นค่ะ
4. มีอาการปวดท้องน้อยได้เล็กน้อย ช่วงวันแรกๆ ไม่ปวดรุนแรง
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ โดยสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อย คือ เกิดจากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังค่ะ เมื่อไข่ไม่ตก เมนส์ก็ไม่มา บางครั้งมีเศษของเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมา (แต่ไม่ใช่ประจำเดือน) ก็จะมีลักษณะเป็นเลือดออกกระปริยกระปรอย หรือเป็นเลือดสีดำๆได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นแค่สาเหตุที่พบส่วนใหญ่นะคะ การจะรู้ได้แน่นอน ต้องได้รับการตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์ หรือบางรายตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาสาเหตุก่อนค่ะ และรักษาตามสาเหตุ
บางสาเหตุ อย่างไข่ไม่ตกเรื้อรัง ใช้การรักษาด้วยยาฮอร์โมนได้ค่ะ แต่บางสาเหตู อาจต้องตรวจเพิ่มเติม และรักษามากกว่านั้น
เพราะฉะนั้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายใน เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะอยากสอบถามเกี่ยวกับประจำเดือนปัจจุบันอายุ22คือเดือนนี้ประจำเดือนนี้มาน้อยมาก ปกติประจำเดือนมาทุกเดือนแต่จะมาเยอะวันที่1-2จะมีไม่เกิน5วันและจะมีอาการปวดท้องมากแต่เดือนนี้ไม่ปวดท้องเลยแต่มีอารมณ์หงุดหงิด หิวบ่อย ทานเยอะ เหมือนอาการก่อนมีประจำเดือนทุกเดือนค่ะเดือนที่แล้วประจำเดือนมาวันที่23ก.ค และมีเพศสัมพันวันที่28ก.คและ18ส.คและวันที่21ชั่วประมาร3ทุ่มมีเลือดไหลคล้ายประจำเดือนใส่มาอนามัยแคร์ฟรียังไม่เต็มแผ่น และเช้าวันที่22ไม่มีเลือดไหลมาที่ผ้าอนามัยแล้วแต่เวลาปัสสาวะมีเลือดไหลมาด้วยนิดหน่อย เกี่ยวกับการทำงานไหมค่ะปกติเรียนหนังสือนอนไม่เกิน1ตีแต่ช่วงนี้ฝึกงานทำงาน2ทุ่มเลิก9-10โมง เป็นแบบนี้ถือว่าปกติไหมค่ะและมีโอกาสท้องไหมค่ะ เป็นกังวลว่าเลือดเสียมันจะไปสะสมแล้วเป็นอันตราย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)