สาระน่ารู้ รวมวิธีเลื่อนประจำเดือนที่สาว ๆ ควรทราบ

เผยแพร่ครั้งแรก 15 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สาระน่ารู้ รวมวิธีเลื่อนประจำเดือนที่สาว ๆ ควรทราบ

ถึงแม้ว่าประจำเดือนจะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกับสาว ๆ เพียงใด แต่บางครั้งก็นำมาซึ่งความไม่สะดวกสบายได้เหมือนกัน โดยเฉพาะช่วงที่เรามีเหตุจำเป็นที่ “ไม่สามารถ” มีประจำเดือนช่วงนั้นได้จริง ๆ เช่น ต้องมีการประกวดแข่งขัน ต้องเดินทางไกล เข้าค่ายพักแรม โอกาสพิเศษ เทศกาลพิเศษ หรือแม้แต่ทริปท่องเที่ยวที่วางแผนมานานแล้วหลายเดือน ไม่อยากจินตนาการเลยว่าการมีประจำเดือนในช่วงนี้จะทำให้ชีวิตของผู้หญิงนั้นยุ่งยากขนาดไหน บทความนี้จึงได้นำเอาสารพัดวิธีมาให้สาว ๆ ได้เลือกใช้ค่ะ

ทำความเข้าใจ ทำไมต้องมีการเลื่อนประจำเดือน

การเลื่อนประจำเดือน ก็คือการชะลอให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติเนื่องจากมีความจำเป็นบางอย่าง โดยปกติประจำเดือนของผู้หญิงจะมาค่อนข้างตรง หรืออาจจะมาก่อนหรือหลังรอบเดือนเดิมในช่วง 7 วัน เพราะฉะนั้นหากสาว ๆ คาดว่าประจำเดือนจะมาในช่วงที่มีกิจกรรมสำคัญจะสามารถวางแผนโดยใช้ยาเลื่อนประจำเดือนป้องกันได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำความรู้จักกับยาเลื่อนประจำเดือน

ปกติแล้วยาเลื่อนประจำเดือนคือตัวยากลุ่ม Norethisterone ผลิตในปริมาณ 5 mg. มีขายหลายแบรนด์กันเลยทีเดียว ส่วนมากมักเป็นประเภทเม็ดทานง่าย ยากลุ่มนี้เป็นการทำงานกับฮอร์โมน โดยทำให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น ทำให้ประจำเดือนมาช้าลง ถึงแม้หยุดยาแล้วประจำเดือนก็จะไม่มาในทันที เฉลี่ยมักจะมาหลังจากการหยุดยาเลื่อนประจำเดือนไปแล้ว 2-3 วัน

วิธีการทานยาเลื่อนประจำเดือน

  • ก่อนอื่นเลย ต้องดูที่น้ำหนักตัวของเราค่ะ
  • สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม ทานครั้งละ  1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
  • สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่ากว่า 60 กิโลกรัม ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เช้า-เที่ยง-เย็น
  • เวลาในการทาน อาจจะเป็นก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่ควรเป็นเวลาเดิมหรือใกล้เคียงกัน

ควรทานยาเลื่อนประจำเดือนเมื่อไหร่ดี ?

โดยปกติแล้ว ประจำเดือนของผู้หญิงมักจะมาในเวลาใกล้เคียงกันมาก บางคนมาวันเดิมทุก ๆ เดือนเสียด้วยซ้ำไป แต่สำหรับบางคนอาจจำมาคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นได้ทั้งกรณีก่อนและหลัง แต่นั่นไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เพราะตามหลักการแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก ๆ 28 วัน บวกลบไม่เกิน 7 วัน นั่นแปลว่าบางคนรอบเดือนสั้นมาทุก 21 วัน ในขณะที่บางคนรอบเดือนยาวมากถึง 35 วันกว่าจะมา

ฉะนั้นสำหรับการทานยาเลื่อนประจำเดือน คุณผู้หญิงจึงควรนับรองเดือนของตัวเองว่าโดยปกติแล้วจะมาตรง, เร็ว หรือช้า โดยให้ทานล่วงหน้าที่คิดว่ารอบเดือนของตัวเองจะมาอย่างน้อย  3-7 วัน การทานยาล่วงหน้า 7 วันเป็นช่วงที่ดีที่สุด แต่เนื่องด้วยประจำเดือนจะสามารถคลาดเคลื่อนได้ การทานยาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก็ยังถือว่าเป็นระยะเวลาที่ใช้ได้ผล แต่ถ้าหากทานยาเลื่อนน้องกว่า 3 วันค่อนช้า คือไม่ทันแล้วนั่นเอง

และมักจะมีอีก 1 คำถามสำหรับสาว ๆ ที่ประจำเดือนมักมาช้ากว่าปกติคือ “ถ้าหากทานแล้วประจำเดือนไม่มาสักที จะทำอย่างไรดี สิ่งแรกที่ควรทำคือ คำนวณระวะเวลาที่ประจำเดือนจะมาให้ใกล้เคียงที่สุด เพราะการทานยาเลื่อนประจำเดือนแต่ละครั้งไม่ควรทานติดต่อกันนานกว่า 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์

การทานยาเลื่อนประจำเดือนกับยาคุม

อีกกรณีหนึ่งสำหรับคุณผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดอยู่แล้ว และต้องการใช้ยาคุมเพื่อเลื่อนประจำเดือนในเดือนนั้น ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน หากปฏิบัติดังนี้จะสามารถเลื่อนประจำเดือนได้

  • สำหรับคนที่ทานยาคุมกำเนิดแบบแผงละ 21 เม็ด เมื่อทานจนหมดแผงแล้ว ให้เริ่มกินแผงต่อไปได้เลยไม่ต้องหยุดยา
  • สำหรับคนที่ทานยาคุมกำเนิดแบบแผงละ 28 เม็ด เมื่อทานยาคุมไปแล้ว 21 เม็ด ให้เริ่มทานยาคุมกำเนิดแผงใหม่เลย ไม่ต้องกิน 7 เม็ดที่เหลือในแผงเดิม
  • สำหรับยาคุมกำเนิดที่มีเม็ดแป้งในแผงอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเม็ดแป้ง 7 หรือ 4 เม็ด ไม่ต้องกินเม็ดแป้งนั้น ๆ สามารถเริ่มแผงใหม่ได้เลย เพราะในส่วนของเม็ดแป้งนั้นไม่ได้มีส่วนผสมของฮอร์โมน

คำเตือนสำหรับการกินยาเลื่อนประจำเดือน

ยาเลื่อนประจำเดือน เป็นยาที่เหมาะสำหรับใช้ยามฉุกเฉิน ทั้งนี้ไม่ควรใช้บ่อยเกินไปเพราะอาจทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนหรือมาผิดปกติ มากะปริดกะปรอย หรือคัดตึงเต้านม รวมทั้งปวดหัวคลื่นไส้ได้ ฉะนั้นไม่ควรใช้ยาเลื่อนต่อเนื่องกันหลายเดือน หรือควรใช้เมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

สำหรับหญิงที่ต้องการ”ตั้งครรภ์” หรือ”ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์” ในขณะที่ใช้ยาเลื่อนประจำเดือน ควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะว่ายาอาจมีผลต่อการพัฒนาอวัยวะเพศภายนอกของทารกในครรภ์ได้ หากพบว่าตั้งครรภ์อย่าเพิ่งตกใจ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อติดตามพัฒนาการพร้อมทั้งวางแผนการดูแลทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ยังไม่มีผลทางการแพทย์ยืนยันแต่เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Use Birth Control Pills Effectively. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/how-to-take-birth-control-pills#1)
Skipping Your Period on Birth Control: How to Do It Safely. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control/skip-period-birth-control)
Birth Control Pill: Side Effects, Effectiveness, How the Pill Works, and Types. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-pills#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป