February 25, 2018 10:25
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
** ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย (Typhoid fever; Enteric fever) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลล่า ไทฟี่ ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ผ่านการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น อาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม หลังจากเชื้อซาลโมเนลล่า ไทฟี่เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะใช้ระยะฟักตัวอยู่ 1-2 สัปดาห์โดยสัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ทานยาลดไข้ไม่หาย ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา โรคจะดำเนินสู่ระยะที่ 2 คือ ไข้จะขึ้นสูง 40 องศา หัวใจเต้นช้า เพ้อ บางครั้งผู้ป่วยอาจกระสับกระส่าย หรืออาจปรากฎจุดแดงคล้ายุงกัดที่หน้าอกส่วนล่างและท้อง เกิดอาการท้องเสียถ่ายบ่อยเป็นสีเขียว ม้ามและตับโตกว่าปกติ กดแล้วเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือท้องน้อยด้านขวา เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 3 ผู้ป่วยจะพบภาวะแทรกซ้อนทั้งตกเลือดในลำไส้ แต่ที่น่ากลัวก็คือ จะมีอาการลำไส้เล็กส่วนปลายทะลุ ซึ่งอาการนี้เป็นอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้ โดยไม่มีอาการใด ๆ เตือนล่วงหน้า นอกจากนี้ ในบางคนอาจเป็นสมองอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ และมีฝีกระจายทั่วตัว จากนั้นในช่วงปลายของระยะที่ 3 ไข้จะเริ่มลดลงแล้ว แต่อาการยิ่งทรุดหนักไปจนถึงระยะที่ 4
** โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) อาการ คือ มีไข้ ไอ น้ำมูก บางคนมีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงจะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งบางครั้งจะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดา อาการจะหายไปเองได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดการอักเสบของปอด ทำให้ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไทฟอยด์กับไข้หวัดใหญ่แยกกันยังไงครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)