October 01, 2019 16:51
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
เมื่อทำงานหนักเกินกำลังของร่างกายไปถึงจุดหนึ่งก็เป็นธรรมดาที่ร่างกายจะอ่อนล้าและต้องการพักผ่อน รวมถึงทางด้านสภาพจิตใจเองก็อาจเกิดพาวะหมดไฟร หรือ burnout ได้ครับ ในกรณีนี้การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบลื่นและมีประสิทธิภาพครับ
จากที่เล่ามานั้นโรคซึมเศร้าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการอ่อนล้าไม่สามารถทำงานได้เท่าเมื่อก่อน แต่ก็อาจไม่ใช่คำอธิบายของอาการทั้งหมดครับ และการที่จะดูแลให้กลับมาสามารถทำงานได้มากขึ้นในกรณีนี้นอกจากการรักษาโรคซึมเศร้าแล้วก็ควรจะต้องมีการจัดแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมถึงอาจต้องมีการตรวจสุขภาพในเบื้องต้นเพิ่มเติมว่ามีโรคทางกายอะไรมารบกวนการทำงานด้วยหรือไม่ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะโลหิตจาง ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยกว่าปกติ เป็นต้น
ในกรณีนี้ถ้าหากได้ลองแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักในเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หมอก็แนะนำว่าควรไปปรึกษาแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจประเมินอาการทางกายและจิตแพทย์เพื่อดูแลอาการทางด้านจิตใจควบคู่ไปพร้อมๆกันครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เดียวเสาร์นี้หนูจะลองไปหาหมอดูค่ะ ขอบคุณนะคะ
หนูรู้สึกเหมือนตัวเองไม่แข็งแรงตั้งแต่ทำงานหนักจากปีที่แล้วที่อดนอนอาทิตย์ล่ะ3วันต้นปีมีภาวะซึมเศร้ายังมีอยู่บ้างแต่ดีขึ่นแล้ว ปัจจุบันมีเวลานอนมากขึ้นแต่มันเหมือนทำงานได้น้อยกว่าคนปกติมากๆแบบอ่อนเพลียง่าย ทำอะไรนิดๆหน่อยๆก็ปวดหัว ต้องการเวลานอน8ชั่วโมงทุกวัน มีวันนึงลองฝืนแบบ นอนแค่4ช.ม.พอ สรุปกลับมานอน14ช.ม.เลย มันกระทบกับการเรียนสังคมมากๆ ไปบอกใครก็ไม่เข้าใจคิดว่าเราไม่มีความอดทน พยายามหาข้อมูลแล้วลองกินวิตามินบีเยอะๆ(ตามพวกนม)ช่วงปิดเทอมพยายามนอนพักเยอะๆ 2-3เดือน เผื่อจะดีขึ้น ก็เหมือนเดิม กลายเป็นว่าตอนนี้ถ่วงงานเพื่อนมากๆ อยากทำงานได้เยอะๆครึ่งนึงของเมื่อก่อนก็ยังดี
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)