September 26, 2019 13:25
เป็นเหมือนกันเรยค่ะ..บางทีก้อชอบเอาแต่ร้องให้ ใครพุดแรงใส่หน่อยก้อร้องไห้
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
บางทีมันเหมือนเราชอบเอาแต่ใจ มั้ยค่ะ. แบบเสียใจทีแค่เรื่องเล็กน้อยแต่เสียใจเหมือนเรื่องใหญ่
ทรมานมากเลยค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
จากอาการที่เล่ามานั้นมีอาการหลายๆอย่างที่ทำให้สงสัยว่าอาจเป็นอาการของโรคซึมเศร้าได้ครับ คือ การมีความรู้สึกเบื่อชีวิต ร้องไห้บ่อยๆ นอนไม่หลับ เบื่อในสิ่งที่เคยชอบทำ ทำอะไรก็ไม่สนุก มีความรู้สึกไม่กลัวความตาย ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีความแตกต่างกับการมีอารมณ์เศร้าตามปกติ เนื่องจากการมีอารมณ์เศร้าตามปกตินั้นมักจะไม่เป็นรุนแรงไปจนครอบคลุมทุกส่วนของชีวิตในลักษณะนี้ครับ
ดังนั้นในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการยืนยันสาเหตุให้แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คุณหมอคะ มีอาการเบื่อชีวิตค่ะ รู้สึกตัวเองไม่มีค่า ไม่กลัวตาย ร้องไห้บ่อยมากค่ะ มันเศร้ามากๆ เหมือนไม่มีใครรักไม่มีใครเข้าใจเราเลย เหมือนอยู่ตัวคนเดียว มีอะไรมากระทบกระเทือนจิตใจไม่ได้เลยค่ะเหมือนตัวเองอ่อนแอ ร้องไห้ เครียดกับทุกปัญหาเหมือนไม่มีทางออก ชอบฝันสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนแล้วก็รู้สึกว่าจะอยู่บนโลกนี้ไปทำไม พรุ่งนี้มีไว้เพื่ออะไร ชอบตื่นตอนตี3ตี4แล้วก็นอนไม่หลับอีกเลยไม่ว่าจะพยายามนอนแค่ไหนก็ไม่หลับ รู้สึกเหงา รู้สึกเบื่อ เคยทำในสิ่งที่ชอบแต่ตอนนี้ไม่อยากทำเลย ทำอะไรก็เบื่อไปหมด ดูยูทูปก็เบื่อ ไม่อยากจะทำอะไรทั้งนั้นแต่ก็ต้องทำ แต่เวลาได้ออกมาข้างนอกกับแฟนความรู้สึกพวกนี้ก็จะหายไปนิดนึง แล้วพอรู้ว่าจะได้กลับบ้านความรู้สึกพวกนี้ก็จะกลับมาอีกอาการแบบนี้มีสิทธิเป็นโรคซึมเศร้ามั้ยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)