April 22, 2017 14:59
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนได้
อาการของโรคเบาหวานที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น
โรคเบาหวานแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
-เบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
-เบาหวานประเภทที่ 2 เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน
-เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนโดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็น
โรคเบาหวานมาก่อน
-เบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่นๆ
การรักษา
-ผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 ต้องให้ฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม
-โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับเบาหวานชนิดที่ 1
-โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
-เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุอื่น ป้องกันได้ดดยการ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก ไม่ทานของหวานจัดเป็นประจำ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
1.ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
2.ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
3.กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
4.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
5.เบื่ออาหาร
6.น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน
7.ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
8.สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
9.อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
10.อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน
เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บป่วย ไม่มีความไม่สบายกายแต่อย่างใดเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัด หรือมาตรวจพบว่าเป็นเบาหวานได้รับยาไปครั้งหนึ่ง ครั้งต่อๆ ไปมักจะซื้อยากินเอง จึงมักพบว่าส่วนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างสม่ำเสมอจะเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อมีความรุนแรงมากขึ้นจะเกิดความเจ็บป่วยทรมานอย่างถาวร
การดูแลสุขภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน
1. ควบคุมเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ
2. รับประทานยาสม่ำเสมอ
3. อาจจะมีการติดตามตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกรับประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายตนเอง
5. พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การรับประทานอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักขึ้นหรืออ้วน เพราะจะทำให้การคุมเบาหวานยากขึ้น
6. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ หลังอาหารทุกมื้อควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อเอาเศษอาหารที่ติดค้างออกจนหมด ใช้แปรงสีฟันที่ขนไม่แข็งจนเกินไป
7. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน รักษาความสะอาดบริเวณซอกอับ เช่น ขาหนีบ ใต้ราวนม อวัยวะขับถ่าย เป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงการอับชื้น
8. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ทุกวัน ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
9. สวมเสื้อผ้าแห้ง สะอาด ระบายอากาศได้ดี และควรเปลี่ยนทุกวัน
10. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
11. หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ ในภาวะเครียดร่างกายและฮอร์โมนต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
12. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว
13. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด แม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง พร้อมปรับแผนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดในโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สุขภาพเรื่องโรค เบาหวาน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)