September 02, 2019 23:22
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ
1.ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม การทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานานๆก็อาจเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ค่ะ ดังนั้นแนะนำให้ทานยาคุมในระยะสั้นๆ ไม่ควรทานนานเกิน 5 ปีค่ะ
2.ผู้ที่เป็นไมเกรนชนิดมีอาการเตือน (Migraine with aura) ไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนค่ะ เนื่องจากยาคุมกำเนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดสมองตีบและการเกิดเส้นเลือดดำอุดตันได้ด้วยค่ะ ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆแนะนำให้ไปตรวจกับแพทย์ก่อนการเริ่มยาคุมค่ะ
3.ยาคุมอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงและช่องคลอดแห้งมากขึ้นได้ค่ะ แต่ไม่ได้เกิดกับทุกรายค่ะ สำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนสามารถเกิดผลข้างเคียงได้มากมายค่ะ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ น้ำหนักขึ้น บวมน้ำ คัดตึงหน้าอก มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนผิดปกติ ช่องคลอดแห้ง มีฝ้าขึ้น หรืออาการอื่นๆแต่พบได้น้อย เช่น ปวดประจำเดือน ปวดขา เส้นเลือดขอด อ่อนเพลีย ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นต้น ถ้าใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เลือดข้นขึ้นและจับตัวเป็นก้อน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันในโลหิต หัวใจ หรือปอดได้ อาจทำให้สูญเสียเยื่อบุโพรงมดลูกอย่างถาวรได้ บางรายประจำเดือนขาดหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิดหลังจากใช้มานาน และยังมีการศึกษาอีกด้วยว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหากใช้เป็นระยะเวลานานค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อายุ 29 ปี ร่างกายแข็งแรง ออกกำลังทุกวัน เพิ่งเริ่มต้นใช้ยาคุมกำเนิดยาสมิน ครั้งแรก มีความกังวลหลังอ่านเอกสารกำกับยา 1. เคยมีคุณยายป่วยเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก การกินยาคุมจะทำให้เรามีความเสี่ยงสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหน 2. เป็นไมเกรนเวลาเครียดหรืออากาศร้อน ทานอาหารไม่ตรงเวลา การกินยาคุมทำให้ส่งผลต่ออาการอย่างไร 3. ยาคุมส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลงจริงหรือไม่ ปกติเป็นคนมีความต้องการสูงมาก แล้วจะมีผลต่อน้ำหล่อลื่นหรือไม่ side effect เหล่านี้ส่งผลหรือเริ่มออกฤทธิ์ทันทีหรือไม่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)