August 28, 2019 17:25
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
เกี่ยวค่ะ น้ำหนักมาก ทำให้ไข่ไม่ตกได้ค่ะ
ประจำเดือนปกติ จะมีลักษณะดังนี้ค่ะ
1. มาสม่ำเสมอ ทุก 24-35 วัน โดยส่วนใหญ่ จะมาทุก 28 - 30 วันค่ะ
2. มาครั้งละ 3-7 วันค่ะ
3. ใช้ผ้าอนามัย วันละ ประมาณ 2-3 แผ่นค่ะ
4. มีอาการปวดท้องน้อยได้เล็กน้อย ช่วงวันแรกๆ ไม่ปวดรุนแรงค่ะ
ประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ก่อนอื่นต้องเช็คเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนค่ะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์
โดยทั่วไป จะถือว่าเป็น ภาวะไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ต่อเนื่องกัน 3 เดือนค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ถ้าประจำเดือนขาดไปเพียงเดือนเดียว อาจเกิดจาก ความแปรปรวนของฮอร์โมน ไข่ไม่ตกในเดือนนั้น อาจสังเกตต่อไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าเดือนถัดๆไป ประจำเดือนยังไม่มาอีก ควรไปพบแพทย์
ถ้าสาเหตุของการไม่มีประจำเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1. มดลูก ปากมดลูก ผิดปกติ
2. รังไข่ผิดปกติ หรือ ไข่ไม่ตก
3. สาเหตุทางสมอง ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมอง มาควบคุมรังไข่ ผิดปกติไป เช่น การที่น้ำหนักลดลงมาก ออกกำลัยการหนักๆ หรือมีความเครียด ก็ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติได้ค่ะ ทำให้เมนส์ไม่มา
อย่างไรก็ตาม การจะทราบแน่ชัด ว่าเมนส์ไม่มาจากสาเหตุใดนั้น ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ เพราะต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ อาจต้องเจาะเลือดเพื่อดูฮอร์โมนเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ
คุณหมอคะ พอดีดิฉันน้ำหนักขึ้นมาจากปีที่เเล้วสิบโล ซึ่งในตอนนี้ประจำเดือนของดิฉันยังไม่มาเลยค่ะ ก่อนหน้านี้มาช้ากว่าปกติ จนครั้งสุดท้ายที่ประจำเดือนมาก็ปลายเดือนมิถุนายน ไม่ทราบว่าอาการเช่นนี้จะเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักที่มากเกินไปหรือเปล่าคะ? เพราะดิฉันก็เคยประสบปัญหาเช่นนี้เมื่อหลายปีก่อนตัดสินใจลดน้ำหนักค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)