January 25, 2017 09:24
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
อาหารการกินนั้นสำคัญมากพอๆกับการออกกำลังกาย โดยไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารค่ะ กินให้ได้อย่างน้อย 1800 กิโลแคลเลอรี่ แต่ไม่เกิน 2500 กิโลแคลเลอรี่ต่อวัน ขึ้นกับความมากน้อยของกิจกรรมและงานที่ทำ ควรลดแป้งและของหวานของทอดลงเป็นสิ่งสำคัญ เน้นกินโปรตีน อาหารที่มีกากใยสูง ผักผลไม้ให้มากขึ้น ทั้งนี้ความหวานของอาหารนั้นขึ้นกับปริมาณน้ำตาลนะคะ ไม่ใช้เกิดจากความรู้สึกที่เราชิมแล้วไม่รู้สึกหวาน เช่นผลไม้ คนเป็นเบาหวานจะกินได้แค่ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ แก้วมังกร สตรอเบอรี่ นอกนั้นถือเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงมากค่ะ พวกนมก็ควรกินนมจืดไขมันต่ำ นมเปรี้ยวนมถั่วเหลืองบางยี่ห้อน้ำตาลสูงพอๆกับน้ำอัดลม วิธีเลือกคือคร่าวๆ เครื่องดื่มหรืออาหารต่างที่ปริมาณเท่านมหนึ่งกล่อง 200-300 มิลลิลิตร ไม่ควรมีน้ำตาลเกิน 10 กรัมค่ะ ส่วนอาหารมันอาหารทอดนั้นรวมถึงขนม แกงใส่กะทิต่างๆด้วยค่ะ สามารถเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยมาทำอาหารได้ พวกน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคาโนล่า นอกจากนี้การออกกำลังก็จะทำให้หลอดเลือดแข็งแรงมากขึ้นค่ะ หากเป็นเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง การออกกำลังกายจะช่วยให้น้ำตาลและไขมันในเลือดลดลงได้ค่ะ โดยการออกกำลังแบบคาร์ดิโอเพื่อให้ร่างกายนำไขมันทั่วร่างมาใช้ คาร์ดิโอคือการออกกำลังให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นถึงค่าหนึ่งเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 30 นาทีขึ้นไป นอกจาดนี้ควรออกกำลังเวทเทรนนิ่งร่วมด้วยเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อค่ะ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อเป็นเหมือนการเพิ่มเตาเผาให้ร่างกายทำให้สามารถเผาผลาญดึงพลังงานส่วนเกินมาใช้ได้มากขึ้น ทำให้ลดไขมันได้ผลเร็วกว่าออกแบบคาร์ดิโออย่างเดียวค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การกินอาหารลดไขมัน ลดหวาน พอตรวจเลือดทำไมโคเลตเตอรอล ไตรกลีเซอไลด์ยังขึ้นอีกคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)