อาการแสดงและการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการแสดงและการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำมากขึ้น ฉุนเฉียวง่าย และหิวบ่อย เป็นอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถถูกเข้าใจผิดได้สำหรับอาการแสดงเจ็บป่วยอื่น ๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการแสดงและการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

>อาการแสดงและการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำมากขึ้น ฉุนเฉียวง่าย และหิวบ่อย เป็นอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถถูกเข้าใจผิดได้สำหรับอาการแสดงเจ็บป่วยอื่น ๆ

เพราะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ และอาการจะค่อยๆ แสดงทีละน้อยเลยอาจไม่ทันสังเกตเห็นเป็นเวลานานหรืออาการอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะอื่นๆ เช่น ความกระหายน้ำที่เพิ่มขึ้น อาจเกี่ยวของกับอากาศร้อน หรืออาการอ่อนเพลียอาจเป็นสัญญาณของวัยชรา หรือความเครียด นี่เป็นเรื่องไม่ค่อยสู้ดีนัก เพราะแม้แต่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia)ในระยะสั้นยังลดทอนคุณภาพชีวิตของคุณ และถ้าภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้นยังคงอยู่เป็นเวลานาน มันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาหรือโรคไต (ไตผิดปกติจากเบาหวาน) ซึ่งจะไม่สามารถกลับคืนมาเหมือนเดิม ถึงแม้ว่าจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงต่างๆได้มากมาย รวมถึง

  • อ่อนเพลีย
  • ปากแห้ง
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย
  • น้ำหนักตัวลด
  • สายตาพร่ามัว
  • เบลอ
  • ฉุนเฉียวง่าย
  • แผลหายยาก

การติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มี เหงือกติดเชื้อ การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (โดยเฉพาะในผู้หญิง) แผลที่หายช้าหลังจากมีอาการติดเชื้อ และการติดเชื้อที่เท้า

อาการแสดงในผู้ชาย

โดยทั่วไปแล้ว อาการแสดงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะเหมือนกันทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย อย่างไรก็ตาม โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) การที่องคชาตไม่สามารถแข็งตัวได้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับทุกประเภทของโรคเบาหวานรวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากรายงานของหน่วยงานกลางที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Diabetes Information Clearinghouse)  20-75% ของผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานชนิดใดๆเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

นักวิจัยเชื่อว่าโรคเบาหวานก่อ ให้เกิดปัญหาทางเพศในผู้ชายซึ่งเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกาย ที่ควบคุมการไหลเวียนต่างๆนั้นถูกทำลาย ถ้าคุณมีอาการแสดงของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาจเป็นอาการว่าคุณนั้นเป็นโรคเบาหวาน อีกหนึ่งโรคทางเดินปัสสาวะที่เกี่ยวข้องกับเบาหวานในผู้ชายคือ retrograde ejaculation หรือการหลั่งน้ำอสุจิย้อนกลับเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ อาการแสดงที่พบได้คือน้ำอสุจิลดลงระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ

อาการแสดงในผู้หญิง

ผุ้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นตกขาวจากการติดเชื้อราในช่องคลอด นี่เป็นเพราะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเกี่ยวข้องกับเชื้อราที่เพิ่มขึ้นในช่องคลอด ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าตกขาวในช่องคลอดนั้นนำไปสู่การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะเพราะเชื้อราและแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

การตรวจคัดกรองและการวินิจฉัยโรคเบาหวาน

สมาคมโรคเบาหวาน แนะนำให้ทุกคนตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเมื่ออายุเข้าสู่ 45 ปี คนที่มีปัจจัยเสี่ยงนอกจากอายุ (ความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีอายุเพิ่มขึ้น) ควรได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆ มีการตรวจเลือดอยู่สองประเภทหลักๆที่นิยมใช้บ่อยๆ เพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาและการตรวจ HbA1c (และมีอีกชื่อที่เรียกกันว่าการตรวจ A1C หรือการตรวจ hemoglobin A1c) การตรวจด้วยวิธีอื่นๆนั้นได้รับการอธิบายข้างล่างนี้เหมือนกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวัดระดับกลูโคสในพลาสมา

การตรวจเลือดชนิดนี้จะทำขึ้นหลังจากคุณไม่ได้อดอาหารเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง โดยปกติแล้ว จะถูกตรวจเลือดในตอนเช้าก่อนช่วงอาหารเช้า การตรวจชนิดนี้จะช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวาน และภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะเมื่อระดับกลูโคสสูงแต่ยังไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน

ปริมาณน้ำตาลในเลือดของคุณสามารถบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

  • ระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกตินั้นสูงไม่เกิน 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL.)
  • ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (ภาวะของคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จัดว่าเป็นเบาหวาน) จะถูกวินิจฉัยถ้าน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ100-125 mg/dL.
  • เบาจะถูกวินิจฉัยถ้าน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 126 mg/dL. หรือสูงกว่า

การตรวจ A1C

อีกหนึ่งประเภทของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือการตรวจ hemoglobin A1C การตรวจชนิดนี้ประเมินระดับกลูโคสของคุณว่าได้รับการควบคุมดีระดับไหนจากช่วงเวลาที่ผ่านมา ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรไปรับผลตรวจ A1C อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพราะการตรวจชนิดที่วัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด แพทย์ประจำตัวของคุณอาจต้องการที่จะตรวจการตรวจที่ได้กล่าวไปด้านบนซ้ำเพื่อยืนยันผลตรวจของคุณ ผู้ที่มีผลตรวจบ่งชี้ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยง 40% ของการพัฒนาที่จะเป็นโรคเบาหวานภายในระยะเวลา 5 ปีถ้าพวกเขาไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและสุขภาพโดยรวม
เป็นที่น่าเสียดายว่าคุณไม่อาจรู้สึกได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณกำลังสูงขึ้น วิธีเดียวที่จะรู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานคือการไปตรวจเลือด

การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (OGTT)

การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส เป็นอีกหนึ่งการตรวจเบาหวานที่จะทำขึ้นหลังจากที่คุณไม่ได้รับประทานอาหารมาเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง การตรวจชนิดนี้มักใช้เพื่อตรวจ gestational diabetes นักเทคนิคจะเอาผลเลือดตัวอย่างของคุณ และหลังจากนั้นจะให้คุณดื่มเครื่องดื่มน้ำตาลที่มีกลูโคส 75 มก. ผสมอยู่ หลังจากที่คุณดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้ คุณจะถูกวัดระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังจากนั้นเพื่อวัดปฏิกิริยาของอินซูลินต่อเครื่องดื่ม การตรวจชนิดนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งโรคเบาหวาน และภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

ผลของการวัดภาวะความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคสที่เป็นไปได้คือ

  • น้ำตาลในเลือดระดับปกติ 2 ชั่วโมงหลังจากการตรวจอยู่ที่ 139 mg/dLหรือต่ำกว่า
  • ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (การเกิดความทนกลูโคสที่ผิดปกติ) is 140 to 199 mg/dL.
  • ถ้าเป็นเบาหวานต้องถึง 200 หรือสูงกว่า(แต่แพทย์ประจำตัวของคุณอาจให้คุณตรวจอีกรอบในวันถัดไปเพื่อยันยันผลนี้)

การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา

การตรวจวิธีอาจทำเมื่อไหร่ก็ได้เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด มันไม่แม่นยำพอที่จะวินิจฉัยภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน แต่สามารถนำได้สู่การวินิจฉัยโรคเบาหวานถ้าน้ำตาลในเลือดของคุณอยู่ที่ 200 mg/dL เป็นอย่างน้อยและมีอาการแสดงอื่นๆ เช่น

  • คุณปัสสาวะมากขึ้น
  • คุณดื่มมากกว่าปกติ
  • คุณน้ำหนักตัวลดลงทั้งๆที่คุณไม่ได้ตั้งใจ

โดยทั่วไปแล้ว การวินิจฉัยใดๆมักจะได้รับการยืนยันจากการวัดระดับกลูโคสในพลาสมา การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส หรือการตรวจ A1C


35 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Type 2 Diabetes | Basics | Diabetes. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/diabetes/basics/type2.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)