October 24, 2019 23:54
ตอบโดย
ธนู โกมลไสย (นพ.)
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายดวงตาใหม่ได้ รวมทั้งส่วนจอประสาทตาไม่สามารถเปลี่ยนใหม่ได้. ส่วนของดวงตาที่สามารถเปลี่ยนได้ในปัจจุบันคือกระจกตาดำ ซึ่งต้องรอกระจกตาบริจาคแล้วนำมาผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะบริเวณกระจกตา การเกิดภาวะต้อหินไม่ได้เกิดจากกระจกตาเสีย จึงไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนดวงตาได้
สว่นการปลูกถ่ายไตนั้น นอกจากพิจารณาว่ามีข้อบ่งชี้ว่าทำการปลูกถ่ายไตได้หรือไม่แล้ว ยังต้องพิจารณาว่าข้อห้ามในการปลูกถ่ายไตหรือไม่ร่วมด้วย เช่น
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคร่วมอื่นๆ ที่ประเมินแล้วคิดว่ามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด.
- มีมะเร็งระยะลุกลาม หรือที่มีแนวโน้มจะมีการแพร่กระจายของมะเร็งมากขึ้น หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต.
- ไม่สามารถมารับการรักษาติดตามผลอย่างต่อเนื่องได้หลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต เนื่องจากผู้ป่วยต้องกินยากดภูมิตลอดชีวิต เฝ้าระวังและตรวจดูการทำงานของไตใหม่ว่ามีการต่อต้านกันของเนื้อเยื่อหรือไม่, ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ.
- มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อระยะรุนแรงในร่างกาย
หากผู้ถามต้องการปลูกถ่ายไตให้บิดา แนะนำให้ปรึกษากับอายุรแพทย์โรคไตเพื่อส่งไปปรึกษาศัลยแพทย์ แพทย์ผู้รักษาจะทำการประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ ข้อห้ามดังกล่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการปลูกถ่ายไตซึ่งอาจได้จากการบริจาคของผู้เสียชีวิตกระทันหันหรือเครือญาติตามแต่กรณี
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สวัสดีค่ะ อยากทราบว่า ถ้าต้องการที่จะรับบริจาคดวงตา และไต ต้องเตรียมตัวหรือศึกษาข้อมูลทางไหนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาพ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ พอดีคุณพ่อเป็นต้อหินระยะสุดท้าย มีโรคไต ระยะ5 ฟอกวันเว้นวัน โรคเบาหวาน(น่าจะเป็นพันธุกรรมเพราะพี่สาวคุณพ่อก็เป็น) อยากได้คำแนะนำหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนดวงตา และไต เพราะท่านเป็นต้อหินทั้ง2ข้าง ผ่าแล้วข้างนึงก็ไม่ค่อวดีเท่าไหร่ จะมองเห็นเพียงแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะไม่เกินครึ่งฟุต(ครึ่งไม้บรรทัดยาว)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)