August 23, 2019 08:19
ตอบโดย
พิชญาพร กูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ
การสวมถุงยางอนามัย อย่างถูกต้อง ไม่รั่วซึม มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 2-15 %
หากประจำเดือนมาปกติ (ประจำเดือนที่มาปกติ คือ จำนวน 3-7 วัน ปริมาณปกติคือใช้ผ้าอนามัย 1-3 แผ่นต่อวัน) โดย รอบเดือนปกติของสตรีวัยเจริญพันธุ์นั้น อยู่ที่ 28-35 วัน ก็จะแสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ค่ะ
กรณีของผู้ถาม อาจยังรอเวลาให้ประจำเดือนมา ได้อีกค่ะ เนื่องจากเป็นคนที่ประจำเดือนไม่สม่ำเสมออยู่แล้วจึงมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้
สำหรับการตรวจครรภ์นั้น ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะ 14 วัน นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย จะให้ผลน่าเชื่อถือถึง 99%ค่ะ
หากการตรวจครั้งที่แล้ว ไม่ถึง 14 วัน แจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย และประจำเดือนขาด แนะนำตรวจซ้ำอีกครั้งค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนปกติ จะมีลักษณะดังนี้ค่ะ
1. มาสม่ำเสมอ ทุก 24-35 วัน โดยส่วนใหญ่ จะมาทุก 28 - 30 วันค่ะ
2. มาครั้งละ 3-7 วันค่ะ
3. ใช้ผ้าอนามัย วันละ ประมาณ 2-3 แผ่นค่ะ
4. มีอาการปวดท้องน้อยได้เล็กน้อย ช่วงวันแรกๆ ไม่ปวดรุนแรงค่ะ
ประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ก่อนอื่นต้องเช็คเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนค่ะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์
โดยทั่วไป จะถือว่าเป็น ภาวะไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อประจำเดือนขาดหายไป ต่อเนื่องกัน 3 เดือนค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ถ้าประจำเดือนขาดไปเพียงเดือนเดียว อาจเกิดจาก ความแปรปรวนของฮอร์โมน ไข่ไม่ตกในเดือนนั้น อาจสังเกตต่อไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าเดือนถัดๆไป ประจำเดือนยังไม่มาอีก ควรไปพบแพทย์
ถ้าสาเหตุของการไม่มีประจำเดือน เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
1. มดลูก ปากมดลูก ผิดปกติ
2. รังไข่ผิดปกติ หรือ ไข่ไม่ตก
3. สาเหตุทางสมอง ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมอง มาควบคุมรังไข่ ผิดปกติไป เช่น การที่น้ำหนักลดลงมาก ออกกำลัยการหนักๆ หรือมีความเครียด ก็ทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองมาควบคุมรังไข่ผิดปกติได้ค่ะ ทำให้เมนส์ไม่มา
อย่างไรก็ตาม การจะทราบแน่ชัด ว่าเมนส์ไม่มาจากสาเหตุใดนั้น ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ เพราะต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ อาจต้องเจาะเลือดเพื่อดูฮอร์โมนเพิ่มเติมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยนั้นถ้าหากใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 2% เท่านั้นครับ และอาการปวดท้องนั้นก็อาจเป็นอาการนำที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนได้ อาการที่เกิดขึ้นในขณะนี้จึงยังไม่ได้เป็นการบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์อย่างชัดเจนครับ
ส่วนการตรวจการตั้งครรภ์นั้นถ้าหากได้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจแล้วก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ ซึ่งถ้าหากได้ตรวจการตั้งครรภ์ไปในช่วงเวลานี้แล้วไม่พบการตั้งครรภ์ประจำเดือนก็อาจมาช้าไปได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เดือนที่แล้วประจำเดือนมาวันที่25ก.คหมดวันที่30ก.คมีเพศสัมพันธ์วันที่1ใส่ถุงยางอนามัยไม่รั่วไม่ขาด พอใกล้ถึงกำหนดประจำเดือนมามีอาการปวดท้องบีบๆแต่ยังไม่มา ตรวจที่ตั้งครรภ์แล้วขึ้น1ขีด(เป็นคนที่ประจำเดือนมาไม่ตรง)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)