February 07, 2017 12:13
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โดยปกติคุณแม่เกือบทุกคนที่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการปวดท้องในขณะตั้งครรภ์ บางคนปวดมากบางคนปวดน้อย อาการแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นอาการปวดท้องเล็ก ๆ น้อย คุณแม่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะถือว่าปกติ แต่ถ้ามีอาการปวดแบบหน่วงหรือปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่นๆ แบบนี้ต้องรีบไปพบแพทย์ค่ะ
สาเหตุ มาจาก มดลูกเริ่มขยายและปรับตัว เกิดกระบวนการฝังตัวของตัวอ่อน ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
เป็นอาการของโรคกระเพาะอาหารค่ะส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกิน หรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิวเมื่อรับประทานอาหารอาการจะทุเลาลง แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะหากรับประทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด
สำหรับในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นมักจะมีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหารหรือ Heartburn คือมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว และอาจมีความรู้สึกขมที่ลิ้น ความเจ็บปวดมักเกิดขึ้นในอก และอาจกระจายถึงคอ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอและอาการไอเรื้อรังได้ ซึ่งในหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากแล้วเกิดจากการที่มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารก็ได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้นจึงอาจมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร และระคายเคืองหลอดอาหาร จนคุณแม่รู้สึกแสบบริเวณลิ้นปี่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และในช่วงใกล้คลอด
กรณีเช่นนี้คุณแม่ตั้งครรภ์เพียงแต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเท่านั้นก็จะช่วยให้อาการทุเลาลงได้ คือ
1.รับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
2.รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
3.รับประทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
4.เคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน
5.ไม่รับประทานให้อิ่มมากจนเกินไป
6.ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
7.งดอาหารรสเผ็ด กาแฟ ช็อกโกแลต อาหารรสเปรี้ยวจัด ของดอง และน้ำอัดลม
8.ลดอาหารไขมันสูงซึ่งย่อยยาก แต่ยังคงรับประทานอาหารที่มีไขมันเล็กน้อย เพราะไขมันจะช่วยยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร และยังช่วยนำพาวิตามินที่ละลายในไขมัน
9.ระวังการดื่มน้ำปริมาณมากพร้อมหรือหลังอาหารทันที ให้พยายามดื่มน้ำให้พอเพียงระหว่างมื้ออาหารแทน
10.หากอาหารไม่ทุเลา สามารถรับประทานยาลดกรดตามแพทย์สั่งได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตั้งครรภ์30สัปดาห์นี้มีอาการปวดท้องกระเพาะ ปวดแบบบีบมาแล้วหาย แล้วก่ปวดแบบบีมมาแล้วหาย
อาเจียน ปวดท้องถ่ายร่วมด้วย แบบนี้ทานยาอะไรได้คะ ทรมารมากค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะ หนูท้องได้ซักเดือนกว่าๆค่ะ แต่หนูรู้สึกปวดท้องจุกๆเวลาทานอะไรเข้าไป ยิ่งมื้อแรกทีรทานยิ่งปวดจุกๆแสบๆ เวลาเดินต้องงอตัวเดินเลย แต่ซักพักก้อค่อยๆดีขึ้นค่ะ อาการแบบนี้ไม่ได้เป็นทุกวันค่ะ นานๆจะเป็นขึ้นมา ช่วงนี้เป็นเบื่อๆอาหารด้วย เกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ จะเป็นอันตรายต่อเด็กมั้ยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)