September 23, 2019 09:07
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
คนไข้มีอาการคิดมากท้อแท้ อยากอยู่คนเดียวไม่อยากเจอใคร เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ครับ
เบื้องต้น แนะนำคนไข้ลองหาเวลา ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด, ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ จะทำให้ลดความเครียด ความกังวลได้ครับ และสุดท้ายคือ มองโลกในแง่ดีครับ
ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้ และทางที่ดีไปพบจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และติดตามรักษาดีที่สุดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีอารมแปรปรวน มีความเบื่อในสิ่งที่เคยชอบ ไม่ค่อยอยากทำอะไร รู้สึกท้อแท้นั้น อาจเป็นอาการที่เสี่ยงต่อโรคทางอารมณ์บางอย่างโดยเฉพาะโรคซึมเศร้าได้ครับ
โรคซึมเศร้านั้นจะต่างจากอารมณ์เศร้าตามปกติตรงที่อารมณ์เศร้าของโรคซึมเศร้านั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน และมักมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก โดยอาจมีอาการร่วมต่างๆอีก เช่น ผลกระทบกับการกินการนอน มีสมาธิที่แย่ลง อ่อนเพลีย ทำอะไรช้าหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น มองตัวเองในแง่ลบมากขึ้น มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หมอก็แนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หงุดหงิดง่ายเรื่องเล็กน้อยก็หงุดหงิดแล้วอารมณ์แปรปรวนเหมือนอารมณ์ไม่นิ่งอะค่ะคิดเยอะคิดมากท้อแท้ไม่ค่อยอยากทำอะไรเลยค่ะรุ้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยดีเหนื่อยง่ายไม่ค่อยอยากทำอะไรสิ่งที่เคยทำและชอบทำกลับไม่อยากทำอาการแบบนี้มันเป็นอะไรหรอคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)