November 05, 2018 17:56
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการเวียนหัวและปวดหัว ต้องได้รับการซักประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับลักษณะการปวดเพิ่มเติม อาการร่วมกับปวดหัว เช่น ตามัว อาเจียน แขนขาอ่อนแรง การเห็นแสงสิบวับ เป็นต้นค่ะ รวมถึงต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียดด้วยค่ะ จึงตะสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อยาางตรงจุด ตัวอย่างโรคเกี่ยวกับการปวดหัว ในกรณีของคนไข้ ที่สามารถเป็นได้ ได้แก่
1.โรคไมเกรน (migrain) โรคชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ
หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้
โดยลักษณะอาการปวดศรีษะจะมีลักษณะ ปวดบริเวณขมับโดยอาจจะปวดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ บางกรณีอาจมีการปวดวนกันไป และมักจะปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำ ๆ
ส่วนอีกบริเวณหนึ่งที่พบมาก ได้แก่ บริเวณเบ้าตา ลักษณะของการปวด ก็มักจะปวดตุ้บๆ ตามจังหวะของชีพจร ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การรักษาโรคไมเกรน (migrain) นอกจากการใช้ยาแล้ว คนไข้ อาจต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดด้วย รวมถึง ถ้าควบคุมอาการไม่ได้ อาจต้องไปพบแพทย์ซ้ำเพื่อปรับยาค่ะ
>>โรค ไมเกรน คือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้
โดยลักษณะอาการปวดศรีษะจะมีลักษณะ ปวดบริเวณขมับโดยอาจจะปวดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ บางกรณีอาจมีการปวดวนกันไป และมักจะปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำ ๆ
ส่วนอีกบริเวณหนึ่งที่พบมาก ได้แก่ บริเวณเบ้าตา ลักษณะของการปวด ก็มักจะปวดตุ้บๆ ตามจังหวะของชีพจร ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การรักษาโดยการกินยาลดอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน เป็นต้น
การกินยาป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหดและขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้น รวมถึง ถ้าควบคุมอาการไม่ได้ แพทย์บางท่าน อาจให้ยาที่ควบคุมอาการเพิ่มเติม เช่น amitryptylline , flunarizine หรือยากันชักบางชนิด ซึ่งต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ค่ะ
>>>อนึ่ง แนะนำว่า คนไข้ ควร หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคกำเริบซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล เช่นความเครียด บางคนเจออาการร้อนหรือที่ๆแสงสว่างมากๆก็กระตุ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดืมที่มีคาเฟอีนค่ะ
อย่างที่สองที่นึกถึงได้ คือ การติดเชื้อค่ะ โดยเฉพาะ การติดเชื้อที่ระบบทางดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีอาการปวดศรีษะ บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณใบหน้า ปวดรอบเบ้าตา อาจมีน้ำมุกสีเขียวผิดปกติ คัดจมูก มาก หรือบางคนอาจมีการได้กลิ่นลดลงได้ค่ะ เป็นต้น
การรักษาคือ การให้ยาฆ่าเชื้อค่ะ และการล้างจมูกบ่อยๆ
3.Tension headache เป็นการปวดศรีษะชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยที่สุด วินิจฉัยโดยอาศัยลักษณะ อาการปวดโดยมักจะปวดตื้อๆ บีบๆเริ่มจากบริเวณท้ายทอยร้าวไปขมับ สองข้าง
บางครั้งอาจจะกดเจ็บบริเวณหนังศรีษะร่วมด้วย มักมีสาเหตุเกิดจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอค่ะ
อย่างไรก็ตาม โรคปวดศรีษะ มีมากมายหลากหลาย ต้องอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายทางระบบระสาทอย่างละเอียดค่ะซึ่งการรักษาก็ขึ้นกับว่าวินิจฉัยเป็นโรคอะไรค่ะ หากไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นนั้นเข้าได้กับอาการที่กล่าวทางด้านต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้องค่ะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการเหล่านี้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษค่ะ
1.ปวดมาก ปวดตลอดเวลาไม่มีช่วงที่หายสนิทเลย
2.ปวดจนสะดุ้งตื่น ขึ้นมากลางดึก หลังจากที่หลับไปแล้ว
3.มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่นชักเกร็งกระตุก คลื่นไส้ มีอาเจียนพุ่ง หนังตาตก แขนขาอ่อนแรงหรือชาเป็นต้น
4.มีไข้
5.มีอุบัติเหตุกระทบกระแทกศรีษะ
5.มีโรคประจำตัวบางอย่างเช่น มะเร็งชนิดต่างๆ โรคเลือด โรคติดเชื้อ HIV เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดศรีษะข้างขวาบ่อยมาก และ สังเกตุว่าเป็นเวลาอากาศร้อน พอปวดก้ลามลงมาที่เบ้าตาข้างขวาคะ อยากทราบว่าเป็นอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)