April 24, 2017 21:59
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ โดยเฉพาะการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียว นม พืชตระกูลถั่ว โยเกิร์ต ลดการทานอาหารจำพวกแป้งน้ำตาล ลดของทอดของมันหรืออาหารไขมันสูง ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-40 นาที แต่ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย โดยเฉพาะหัวเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยสูงอายุเช่น โยคะ เดินหรือวิ่งเหยาะๆ รำไท๊เก็ก เต้นแอโรบิค นอกจากนี้ควรทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียด นอนหลับให้เพียงพอ และควรได้รับการตรวจร่างกายสม่ำเสมอ ปีละอย่างน้อย1ครั้ง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิต เบาหวาน และไขมัน นอกจากนี้ในสตรีควรตรวจหามะเร็งเต้านมและเช็คมะเร็งปากมดลูกด้วย
ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density) รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
การดูแลตนเอง ผู้ที่อยู่ในภาวะหมดประจำเดือน ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลาย ๆ ด้าน เช่น
อาการร้อนวูบวาบ - สวมใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น ดื่มน้ำเย็น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เผ็ดร้อนหรือมีคาเฟอีน ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา
อารมณ์แปรปรวน - พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียดและความวิตกกังวลในชีวิตประจำวัน หากิจกรรมเพื่อความผ่อนคลายทำ
อ้วน ระบบเผาผลาญไม่ดี กระดูกไม่แข็งแรง - ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุ 50 ปี เมื่อถึงวัยนี้ รังไข่จะหยุดทำงาน และไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ฮอร์โมนเพศหญิงที่ขาดหายไปนี้มีชื่อว่าเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จึงทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจต่างๆ ตามมา
อาการของวัยทอง
-ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ
-ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ
-ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังเกิดผื่นแพ้ง่าย
-เส้นผมจะหยาบแห้งและบางลง หลุดร่วงได้ง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางาม
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก
-มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุ โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย --เวียนศีรษะ ซึมเศร้า
-นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ
-ช่องคลอดขาดความชุ่มชื้น น้ำหล่อลื่นน้อยลง เกิดความเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
-ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
-กระดูกจะบางและเปราะง่าย เวลาหกล้มกระดูกจะหักได้ง่ายขึ้น
การดูแลตัวเองในสตรีวัยทอง
1.อาหาร สตรีวัยทองควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับประทานจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิค เป็นต้น
3.ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
4.ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density) รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้หญิงวัยทองควรดูแลตังเองยังไงดี
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)