January 25, 2017 12:21
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
หากยังอายุไม่ถึง 45 อย่าลืมไปตรวจเช็คสาเหตุอื่นๆด้วยนะคะ ถ้ามีอาการปวดข้อต่ออื่นๆร่วมด้วย อาจมีสาเหตุจากทั้งเก๊าท์ เก๊าท์เทียม รูมาตอย โรคภูมิแพ้ตัวเองต่างๆ ในอายุน้อยๆสามารถออกกำลังได้ปกติ แต่ต้องศึกษาท่าทางการออกกำลังอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของข้อเข่าค่ะ หากปวดมาก หรือน้ำหนักตัวมาก หรืออายุ 45 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น อาจจะหลีกเลี่ยงท่าออกกำลังที่ต้องใช้เข่า ท่าที่ต้องกระโดด ท่าสควอท หากอายุยังไม่เกิน 30 ปีควรเริ่มเสริมความแข็งแรงให้มวลกระดูกค่ะ ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 - 1500 มิลลิกรัมต่อวัน มีมากในนม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วต่างๆ ชีส ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ไม่ควรรับประทานเกินกว่านี้เพราะอาจทำให้ท้องผูก เกิดแคลเซียมสะสมเป็นตะกอนนิ่ว หรือสูงมากอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ค่ะ นอกจากนี้เพื่อให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีควรได้ควบคู่กับวิตามินดีและฟอสฟอรัสค่ะ (เช่นจากเนื้อสัตว์ ถั่ว นม ไข โดยมากอาหารที่มีแคลเซียมสูงมักมีฟอสฟอรัสอยู่แล้วค่ะ) ส่วนเรื่องการดูแลกระดูกอ่อนรองข้อเข่า อาจเสริมด้วยอาหารที่มีซิงค์และวิตามินซีสูง เพราะสองตัวนี้จะช่วยเรื่องการสร้างคอลลาเจนอันเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกายค่ะ (เนื้อเยื่อเกี่ยวพันก็คือเนื้อเยื่อจำพวกเอ็น กระดูกอ่อน ส่วนประกอบของผิวหนัง) หากอายุมากขึ้น อาจลดปริมาณการออกกำลังที่ต้องใช้ข้อเข่าเยอะลงนะคะ เพราะข้อเข่าจะเริ่มเสื่อมตามวัยอยู่แล้ว ส่วนอาการเอ็นของนิ้วมืออักเสบ โรคนิ้วล็อคนั้น กลไกการเกิดโรคมีสาเหตุมาจากการใช้งานนิ้วและมือบ่อยๆนานๆ หรือใช้งานหนัก ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นที่ข้อนิ้วอักเสบ เมื่ออักเสบนานจะเกิดเป็นพังผืด ทำให้มีอาการได้ทั้งเจ็บ ชาปลายนิ้วนั้นๆ และข้อนิ้วติดได้ การรรักษาคือต้องงดใช้งาน ใช้วิธีค่อยๆดัดยืดข้อนิ้วทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้พังผืดไม่ยึดนิ้วเป็นเวลานาน หากปวดมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดช่วยด้วย การรักษาขั้นต่อมาคือฉีดยาลดการอักเสบเสตียรอยด์ผสมกับยาชาเฉพาะที่ เข้าไปในบริเวณปลอกหุ้มเอ็นนิ้วที่เป็น หลังฉีดประมาณหนึ่งวันอาการปวดจะเริ่มทุเลาลง หากฉีดยาเข้าข้อสามครั้งแล้วแนวโน้วไม่ดีขึ้นอาจจะต้องให้แพทย์ศัลยกรรมกระดูกพิจารณาผ่าตัดกรีดเลาะพังผืดที่ปลอกหุ้มเอ็นออก แต่โดยหลักสำคัญแล้วการรักษาที่สำคัญคืองดใช้งาน และต้องหมั่นยืดดัดข้อนิ้วประจำ นอกจากนี้ โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบยังสามารถเกิดได้ที่เอ็นข้อมือ และเอ็นบริเวณปุ่มกระดูกข้อมือด้านนิ้วโป้งด้วย ซึ่งสามารถรักษาด้วยวิธีเดียวกัน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดเข่า กับเส้นเอ็นนิ้วโป้งซ้ายอักเสบ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)