September 08, 2019 18:01
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าไม่ได้มีก้อนโตเร็ว ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเลยจะไม่ใช่เนื้อร้ายครับ เเละก้อนที่เคลื่อนไหวตามการกลืนก็มักจะเป็นก้อนไทรอยด์ครับ ถ้าไม่ได้มีอาการของต่อมไทรอยด์ เช่น ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย ใจสั่น ท้องเสียบ่อยๆ น้ำหนักลด ก็ไม่น่าเป็นก้อนไทรอยด์ที่หลั่งฮอร์โฒนอะไรครับ อาจจะเป็นซีสต์ เช่น Thyroglossal duct cyst
ก้อนบริเวณคออย่างเเรกต้องดูว่าเป็นก้อนอะไรครับ เพราะเป็นได้ตั้งเเต่ก้อนของต่อมไทรอยด์ ,ซีสต์บางชนิด หรือ ต่อมน้ำเหลืองโต ครับ
ส่วนใหญ่เมื่อมีก้อนใดๆก็ตาม การที่จะสงสัยมะเร็ง มักจะมีลักษณะดังนั้ครับ ก้อนมักจะขรุขระ คลำขอบได้ไม่ชัดเจน ก้อนเคลื่อนที่ไม่ได้ อาจพบเเผลบริเวณผิวหนังเหนือก้อน ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้คุณหมอจะพิจารณาปัจจัยอื่น เช่น อายุผู้ป่วย อาการร่วมเช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้นครับ
ถ้ากังวลควรหาเวลาไปพบ เเพทย์หูคอจูมก(ENT)เพื่อทำการตรวจหูคอจมูกอย่างละเอียดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปัจจุบันดิฉันอายุ 34ปี คือดิฉันพบว่าตัวเองมีก้อนที่คอนี้เมื่อ7ปีที่แล้วค่ะ คือได้ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานและแจ้งหมอว่ามีก้อนที่คอ คุณหมอคลำดูและตรวจเลือดค่าไทรอยด์เพิ่มเติม ซึงคุณหมอระบุในใบรับรองแพทย์ว่าพบต่อมไทยรอยโต และค่าไทรอยด์ปกติค่ะ หลังจากนั้นดิฉันก็ไม่ได้ทำการรักษาเพิ่มเติม จนผ่านมา7ปี คือเมื่อวันที่ 6กย.ที่ผ่านมาดิฉันตรวจสุขภาพประจำปี ปรึกษาหมอว่า มีก้อนที่คอด้านขวามองตาเปล่าจะไม่เห็นค่ะ แต่หากใช้มือจับแล้วกลืนน้ำลายก้อนนั้นจะเคลื่อนตามจังหวะการกลืน หมอลองจับดูและถามระยะเวลาของก้อนนี้ และโตเร็วไหม?? ซึ่งไม่มีอาการเจ็บและก้อนไม่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไรคะ เพราะก็ผ่านมา7ปีแล้ว คุณหมอก็สันนิษฐานว่าอาจเป็นซีส แต่บางครั้งเวลากลืนแค่รู้สึกว่าอาหารไปโดนบ้างจนรุ้สึกได้ค่ะ หรือเวลาที่เป็นหวัดจะรู้สึกเจ็บคอด้านขวาก่อนทุกครั้ง อยากทราบว่าก้อนดังกล่าวจะเกี่ยวกับไทรอยด์ได้ไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)