การเสพติดทางพฤติกรรม (Process Addiction) คืออะไร ?

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การเสพติดทางพฤติกรรม (Process Addiction) คืออะไร ?

การเสพติดทางพฤติกรรม (Process Addiction) คือ อาการหมกมุ่นอยู่กับพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งโดยไม่มีสารเสพติดมาเกี่ยวข้องและผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งพฤติกรรมนั้นได้ 

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าอาการเสพติดหมายถึงการใช้ยาเสพติดหรือการดื่มสุรา แต่ภาวะการเสพติดทางพฤติกรรมรวมไปถึงการแสดงออกทางการกระทำที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับการใช้สารเสพติด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากมองแบบผิวเผินพฤติกรรมเหล่านี้อาจดูเหมือนเรื่องปกติ  สังคมส่วนใหญ่จะรู้สึกเฉยๆ บางฝ่ายยอมรับได้เพราะคิดว่าพฤติกรรมเสพติดนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรง แต่ภาวะดังกล่าวจะค่อยๆ ส่งผลเสียต่อเจ้าตัวอย่างมากเมื่อเกิดการเสพติดทางพฤติกรรมแล้วมักจะแก้ไขพฤติกรรมนั้นได้ยาก จนส่งผลกระทบขยายวงกว้างไปยังบุคคลรอบข้าง จนต้องตระหนักว่าควรจะเข้ารับการบำบัด 

การเสพติดทางพฤติกรรม ที่ควรได้รับการบำบัด

การเสพติดทางพฤติกรรมที่ควรได้รับการบำบัด ได้แก่  อาการติดการพนัน, อาการติดเซ็กซ์, อาการติดอินเตอร์เน็ต, อาการติดสื่อลามกอนาจาร, อาการติดการช้อปปิ้ง, การรับประทานอาหารที่ผิดปกติ

สาเหตุของอาการเสพติดทางพฤติกรรม

อาการเสพติดทางพฤติกรรม ถือเป็นอาการเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง สาเหตุหลักเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีในเซลล์สมอง เป็นรูปแบบหนึ่งของความบกพร่องทางระบบประสาท โดยมีสารโดพามีน (dopamine) เป็นชนวนเหตุหลัก ซึ่งปกติโดปามีนจะถูกหลั่งออกมาเป็นระยะเมื่อเราทำอะไรแล้วมีความสุขหรือเกิดความพึงพอใจในสิ่งนั้น ดังนั้นอาการเสพติดทางพฤติกรรมจึงเป็นเงื่อนไขหลักที่ทำให้สมองหลั่งโดปามีนออกมา 

เมื่อเกิดการเสพติดทางพฤติกรรมใดแล้วเจ้าตัวจะไม่สามารถใช้เหตุผลในการนึกคิดถึงการกระทำของตัวเองในขณะที่รู้สึกอยากทำพฤติกรรมนั้นจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้   

นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดอาการเสพติดทางพฤติกรรม ได้แก่ ความบกพร่องทางพันธุกรรม การเลี้ยงดู สภาวะแวดล้อมรอบตัว ลักษณะบุคลิกภาพที่มักเป็นแบบพึ่งพิงผู้อื่น จิตใจอ่อนไหวง่าย รวมทั้งระดับเชาวน์ปัญญาที่ไม่สูงนัก 

การบำบัดรักษาอาการเสพติดทางพฤติกรรม

มุ่งเน้นการบำบัดแบบองค์รวม ซึ่งประกอบไปด้วยแนวทางการบำบัด 3 ประการ คือ                                                                       

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิด 
  • หลักการ 12 ขั้นตอน 
  • การทำสมาธิเพื่อฝึก

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Psychological Process of Addiction. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/psychological-process-of-addiction-22261)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคไบโพล่าร์และอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคไบโพล่าร์และอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม

ช่วงภาวะ mania ส่งผลกระทบต่อชีวิตเซ็กส์ได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม
การติดยาเสพติด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
การติดยาเสพติด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

สำรวจสาเหตุทำให้เกิดปัญหายาเสพติด อะไรทำให้ผู้เสพหันไปเสพยา แล้วมีผลกระทบอย่างไร

อ่านเพิ่ม