โรคเสพติดการรับประทานอาหาร รักษาได้ด้วยการแก้พฤติกรรม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคเสพติดการรับประทานอาหาร รักษาได้ด้วยการแก้พฤติกรรม

มีคนหนึ่งกลุ่มที่การควบคุมอาหาร เป็นเรื่องที่ยากสำหรับพวกเขา เพราะพวกเขามักจะรู้สึกว่าต้องการ ที่จะรับประทานอาหารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคนกลุ่มนี้ในทางการแพทย์เรียกว่า เป็นกลุ่มคนที่เสพติดการรับประทานอาหาร

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเสพติดอาหาร

1. อารมณ์และความรู้สึก สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติดอาหาร

โดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุของการเสพติดการรับประทานอาหาร มักจะมีปัจจัยมาจากเรื่องของอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ที่ป่วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเศร้า ความเบื่อหน่าย หรือแม้กระทั่งความเครียด ทำให้คนเหล่านี้รู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องหาอะไรมาทำเพื่อทดแทนความรู้สึกเหล่านั้น และสิ่งที่พวกเขาเลือกที่จะทำก็คือ การกิน กิน และก็กินนั่นเอง เพราะการได้รับประทานอาหารที่ถูกใจ จะทำให้ร่างกายของเราหลั่งฮอร์โมนเอนโดฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการผ่อนคลายออกมา ทำให้รู้สึกมีความสุขมากขึ้น

2. การถูกปลูกฝังพฤติกรรมในการกินที่ผิดปกติมาตั้งแต่เด็ก

การถูกปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติมาตั้งแต่เด็ก ก็ทำให้เกิดการเสพติดการรับประทานได้เช่นเดียวกัน โดยในปัจจุบันเราจะพบว่าพ่อแม่หลายคนมักจะพยายามที่จะให้ลูกทานอาหารเยอะๆ เพื่อให้ดูอ้วนท้วนสมบูรณ์ น่ารักในสายตาของพวกเขา หารู้ไม่ว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต เพราะเด็กอ้วนส่วนใหญ่เมื่อโตขึ้นก็มักจะเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนเช่นเดียวกัน เพราะพวกเขามองว่าการรับประทานอาหารเช่นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด

สัญญาณว่าเป็นโรคเสพติดการกิน !

หากพบสัญญาณเหล่านี้มากกว่า 2 ข้อแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ และนักโภชนาการเพื่อหาสาเหตุและปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารของคุณได้แล้ว

  1. คุณมักจะรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วกว่าคนปกติ
  2. แม้จะรู้สึกว่าอิ่มแล้วแต่ก็ยังไม่อยากที่จะหยุดกิน ต้องกินจนกว่าจะรู้สึกอึดอัดและรับประทานต่อไปไม่ไหวแล้ว
  3. กินอาหารได้จำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รู้สึกหิวก็ตาม
  4. รู้สึกผิดหลังจากที่รับประทานอาหารจำนวนมากๆเข้าไป

การรักษาโรคเสพติดอาหารจากแพทย์

การรักษาอาการเสพติดการรับประทานอาหารนั้น นอกจากการเข้าพบแพทย์ เพื่อปรึกษาหาสาเหตุ และทานยาตามที่หมอสั่งแล้ว คนในครอบครัวมีส่วนอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมารับประทานอาหารได้เหมือนคนปกติ เพราะการควบคุมการรับประทานอาหาร อาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับกำลังใจ และแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างอยู่พอสมควรทีเดียว

เมื่อผู้ป่วยรู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคเสพติดอาหาร แล้วรีบเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะกลับมาดีขึ้นได้ในไม่ช้า และนอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาส ที่จะทำให้เกิดโรคที่มาจากการรับประทานอาหารเกินพอดี อย่างโรคอ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคอื่นๆได้อีกมากมาย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Struggling With Your Weight? How to Beat Food Addiction. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/overweight-beat-food-addiction/)
Food addiction' doesn't exist, say scientists. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/food-and-diet/food-addiction-doesnt-exist-say-scientists/)
Error Page. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319670)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป