หากคนใกล้ชิดของคุณกำลังติดยาเสพติดอย่างหนัก และคุณมีความคิดที่จะหยุดยั้งการเสพติดของคนเหล่านั้น คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเลิกเสพยาเสพติดได้
เรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้เสพยา และวิธีการเลิกยาเสพติดกันว่ามีอะไรบ้าง
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 285 บาท ลดสูงสุด 345 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความแตกต่างระหว่างการติดยาเสพติด และการเสพยาเสพติด
การติดยา หมายถึง การใช้ยาเสพติดที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างรุนแรง และทำให้ผู้เสพมีอาการติดยา หรือต้องการเสพยาตลอดเวลา
การเสพยา หมายถึง การใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาที่ถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมายก็ตาม
การเสพยาเสพติดเป็นอย่างไร?
การเสพยา หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้หมายความว่า ผู้เสพจะมีอาการเสพติดเสมอไป เช่น ผู้ชายคนหนึ่งสูบกัญชา 3-4 ครั้ง นั่นไม่ได้หมายความว่า เขามีอาการเสพติดกัญชา
แต่หากในอนาคต เขายังคงสูบกัญชาอย่างต่อเนื่องก็มีโอกาสที่จะทำให้เขากลายเป็นคนติดกัญชาได้
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วคนเราสามารถเสพติดสารใดๆ ก็ได้ ไม่ใช่เพียงแค่ยาเสพติดที่มักได้ยินติดหูกัน แต่คนส่วนมากจะเข้าใจผิดว่า อาการเสพติดมักเกิดกับการเสพยาที่ผิดกฎหมาย หรือการดื่มสุรา และเครื่องแอลกอฮอล์เท่านั้น
ยาต่างๆ บุหรี่ หรือกาว ก็สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมการเสพติดได้เช่นกัน ซึ่งสารบางประเภทนั้น สามารถทำให้ผู้เสพเกิดอาการติดยาอย่างรุนแรงได้ เช่น โคเคน เฮโรอีน แม้จะเป็นการลอง หรือเสพเพียงครั้งเดียวก็ตาม
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 285 บาท ลดสูงสุด 345 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการในระหว่างติดยาเสพติด
อาการติดยา คือ การที่ผู้เสพยาไม่สามารถควบคุม หรือบังคับตนเองให้ห่างจากอาการอยากยาได้ เช่น ผู้ที่เสพติดโคเคน คนกลุ่มนี้จะไม่สามารถหยุดการใช้ยาได้และจะต้องใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้การติดยายังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย และสภาพทางจิตได้ดังนี้
- เกิดความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ ฤทธิ์ของยาเสพติดหลายชนิดก่อให้เกิดความผิดปกติภายในสมองและระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ติดยาเห็นภาพหลอน รู้สึกว่า ตนมีพละกำลังมากมายมหาศาล ตื่นตัวตลอดเวลา และอาจกลายเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตได้
- อาการลงแดง เป็นอาการทางร่างกายที่แสดงออกมาเมื่อผู้ติดยาเสพติดขาดยา หรือต้องการเลิก และหยุดใช้ยา เนื่องจากร่างกายได้เสพติดการใช้สารดังกล่าวไปแล้ว อาการที่แสดงออกมาจะได้แก่ ท้องร่วงอย่างรุนแรง ตัวสั่น รู้สึกหวาดกลัว หรือเห็นภาพหลอน
- อาการดื้อยา เป็นอาการที่ทำให้ผู้ติดยาต้องการยาในปริมาณที่มากขึ้น และมีจำนวนครั้งในการเสพถี่ขึ้นด้วย
- ก่ออาชญากรรม การซื้อยาเสพติดมักต้องใช้เงินจำนวนมาก ผู้ที่ติดยาเสพติดส่วนมากเมื่อไม่มีเงินพอที่จะซื้อยามาเสพได้จึงมักก่ออาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยา บางครั้งอาจรุนแรงถึงการฆ่าชิงทรัพย์ได้
- ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ ยาเสพติดจะเข้าไปก่อกวน และทำลายระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายหลายด้าน เช่น ทำให้ความดันโลหิตสูง มีไข้ เลือดออกในสมอง ตาลาย ง่วงซึม ท้องผูก การมองเห็น และการได้ยินผิดเพี้ยนไป
สัญญาณของการติดยาเสพติด
สัญญาณที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า คุณกำลังติดยาเสพติด คือ การที่คุณต้องเสพยานั้นอยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณบ่งบอกอื่นๆ ได้อีก ได้แก่
สัญญาณที่สังเกตได้จากพฤติกรรมทางจิต
- ไม่สุงสิงกับใคร แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน หรือครอบครัว
- ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งยาเสพติด
- มีอารมณ์ก้าวร้าว แปรปรวน รวมทั้งวิตกกังวล และมีอาการซึมเศร้า
- เลิกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำอยู่เป็นประจำ เช่น กีฬา ดนตรี หรืองานอดิเรกต่างๆ
- มีปัญหาที่โรงเรียน หรือเกี่ยวกับการเรียน เช่น ผลการเรียนตก ขาดเรียน
- เมื่อมีปัญหา หรือเกิดความเครียด คุณมักจะหาทางออกด้วยการเสพยา
- มีพฤติกรรมการลักขโมย เพื่อนำเงินไปซื้อยาเสพติด
- ไม่สามารถเลิกยา หรือเลิกดื่มสุราได้ แม้จะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม
- หันไปคบเพื่อนกลุ่มที่เสพยาด้วยกัน หรือมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่จะเสพยา
สัญญาณที่สังเกตได้จากการกระทำ และพฤติกรรมภายนอก
- มีอาการตัวสั่น และป่วยเมื่อพยายามหยุดใช้ยาเสพติด
- พฤติกรรมการรับประทานอาการเปลี่ยนไป ทำให้น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ
- ต้องเสพยาในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และรู้สึกดีขึ้น
- พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลงไป
จะทำอย่างไร เมื่ออยากเลิกเสพยา?
ไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ ที่จะเลิกเสพยาได้ เพราะการติดยาเสพติดมีความเกี่ยวข้องกับระบบอวัยวะภายในร่างกาย ถึงแม้ผู้เสพจะอยากเลิกแค่ไหน แต่หากร่างกายยังไม่สามารถหยุดเสพยาดังกล่าวได้ ก็ยังมีโอกาสที่การเลิกเสพยาจะไม่ประสบความสำเร็จ
ผู้ติดยาหลายคนเชื่อว่า พวกเขาสามารถเลิกยาได้ด้วยตนเองแต่น้อยคนนักที่จะทำได้จริงๆ ดังนั้นคุณควรมองหาใครสักคนที่คุณไว้ใจ อาจเป็นเพื่อนสนิท คนรัก คนในครอบครัว หรือแพทย์ประจำตัวที่คุณไว้ใจ
หากคุณไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ แนะนำให้คุยกับครูที่ปรึกษา หรือผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจ หรือนักบำบัดยาเสพติด เพื่อช่วยหาแนวทางในการเลิกยาเสพติดให้กับคุณ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อีกสิ่งสำคัญที่ผู้ติดยารวมทั้งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ติดยาจะต้องเข้าใจ คือ การที่ผู้ติดยาไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการเสพยาได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาอ่อนแอแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเริ่มต้นการเลิกเสพยาได้ใหม่อีกครั้ง
เคล็ดลับสำหรับการเลิกยาเสพติด
เมื่อคุณตัดสินใจเข้าร่วมโครงการบำบัด หรือตัดสินใจจะเลิกยาเสพติดแล้ว ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อช่วยให้แผนการเลิกยาของคุณมีอุปสรรคน้อยลง
1. บอกเพื่อนๆ ว่า คุณกำลังพยายามเลิกเสพยา
เพื่อนที่หวังดีกับคุณจริงๆ จะเข้าใจ และเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณทำ รวมทั้งจะสนับสนุนให้คุณเลิกยาเสพติดให้ได้ แต่นั่นหมายความว่า คุณจะคงต้องเลิกคบกลุ่มเพื่อนที่เสพยา และเข้ากลุ่มเพื่อนใหม่ที่สนับสนุนช่วยเหลือ และเห็นอกเห็นใจคุณอย่างแท้จริง
2. ปรึกษาเพื่อน หรือคนในครอบครัวเมื่อคุณต้องการพวกเขา
คุณไม่ควรพยายามแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการติดยาเพียงลำพัง เพราะคนเหล่านี้พร้อมเสมอที่จะช่วยคุณให้พ้นจากการติดยา บางครั้งคุณอาจต้องการโทรศัพท์หาเพื่อน หรือคุยกับใครสักคนกลางดึกในขณะที่รู้สึกต้องการเสพยาขึ้นมา
ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการเลิกยาเสพติด คุณอาจบอกคนที่คุณไว้ใจ หรือคนใกล้ชิด เพื่อให้เขาเตรียมรับมือกับอาการลงแดง อาการทางประสาท หรือผลกระทบเกี่ยวกับจิตใจที่จะเกิดขึ้นระหว่างพยายามเลิกยา
3. คุณควรระลึกไว้อยู่เสมอว่า การติดยาไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนไม่ดี
หากคุณกำลังนั่งคิดถึงวันที่ตกเป็นทาสของยาเสพติดจนทำให้คุณรู้สึกแย่ แนะนำให้รีบพูดคุย หรือปรึกษาใครสักคน คุณอาจระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรน่าอาย
การบอกให้คนอื่นรู้ถึงความรู้สึกจะช่วยให้คุณยืนหยัดกับความพยายาม และท้ายสุดคุณก็จะสามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร นอกจากนี้ คนรอบตัวอาจเข้าใจในตัวคุณมากขึ้นด้วยว่า คุณรู้สึกอย่างไร แล้วมีปัญหาอะไรที่ทำให้คุณต้องหันไปพึ่งการเสพยา
4. หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสพยา
การนัดดื่มสังสรรค์ หรือการจัดงานปาร์ตี้ช่วงกลางคืนมักเป็นสถานการณ์ที่มีการเสพยาเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น หากคุณอยู่ระหว่างการเลิกยาเสพติด ให้หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้
เนื่องจากมันเสี่ยงที่คุณจะถูกชักชวน หรืออาจถูกบังคับให้เสพยาอีกครั้ง หากจำเป็นต้องไปร่วมงานจริงๆ ให้แจ้งพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดให้รับทราบไว้ เพื่อที่เมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือจะได้มีคนพาคุณออกไปจากสถานการณ์ดังกล่าวทันที
ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หากต้องการหายขาดการอาการติดยาเสพติด คุณสามารถเข้าร่วมโครงการบำบัดยาเสพติดได้ตามสถานพยาบาลต่างๆ
ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดจะแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ (Pre-admission)
เป็นขั้นตอนการสัมภาษณ์ตัวผู้ติดยา และครอบครัว ถึงภูมิหลังของผู้ติดยาว่าเป็นใคร และมีชีวิตเป็นอย่างไร การกระตุ้นให้ผู้ติดยามีความตั้งใจในการรักษา ขั้นตอนนี้ยังรวมไปถึงการตรวจร่างกายเบื้องต้น การเอกซเรย์ และตรวจปัสสาวะ
2. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification)
เป็นขั้นตอนการบำบัดทางร่างกายซึ่งยังตกอยู่ภายใต้สภาวะการติดยาเสพติด ขั้นตอนนี้อาจมีการใช้ยาประกอบการรักษาด้วย เช่น ยาเมทาโดน (Methadone) ยาสมุนไพร
ขั้นตอนนี้จะแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบดังนี้
- การถอนพิษแบบผู้ป่วยใน เป็นการบำบัดแบบที่ผู้ติดยาจะนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล เพื่อบำบัดอาการติดยาเสพติดและรักษาอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย
- การถอนพิษแบบผู้ป่วยนอก เป็นการบำบัดแบบที่ผู้ติดยาไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล แต่จะให้ยากลับไปรับประทานที่บ้านตามกำหนด เมื่อถึงเวลานัดก็ให้เดินทางมารับการบำบัดที่โรงพยาบาลอีกครั้ง
3. ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabillitation)
หลังจากการบำบัดอาการทางร่างกายแล้วก็มาถึงขั้นตอนการปรับสภาพจิตใจของผู้ติดยาให้เข้มแข็ง มีการปรับบุกคลิกภาพให้ดีขึ้น รวมทั้งมีการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นบำบัดจิตใจ
จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ติดยารู้จักการรับผิดชอบตนเอง รู้จักการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างถูกต้อง และการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้
นอกจากนี้ การบำบัดยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้ที่มีประสบการณ์ติดยาเสพติดมาก่อน ซึ่งความรู้ และสิ่งที่จะได้จากการบำบัดในขั้นตอนนี้ ไม่สามารถหาได้จากในหนังสือ หรือบทเรียนในห้องเรียนแน่นอน
4. ขั้นตอนการติดตามดูแล (After-Care)
เป็นขั้นตอนการติดตามอาการผู้ติดยาหลังจากการบำบัด เพื่อไม่ให้มีการกลับไปติดยาเสพติดซ้ำอีกครั้ง ทั้งยังเป็นการให้กำลังใจ การโทรให้คำปรึกษา และแนะนำ อาจมีการไปเยี่ยมเยียนผู้ติดยา หรือนัดพบเพื่อตรวจดูอาการซักถาม ใช้แบบสอบถาม รวมถึงการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดด้วย
บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการอยากยา
การช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้สามารถเลิกยาได้เป็นสิ่งที่น่ายกย่องและควรทำ แต่ก่อนอื่นผู้ช่วยเหลือจะต้องมีความเข้าใจเสียก่อนว่า "การเลิกยานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย" เพราะความเข้าใจในตัวผู้ติดยาจะทำให้คุณสามารถช่วยเหลือ และสนับสนุนพวกเขาให้เลิกยาได้จริงๆ
- ครอบครัวต้องเข้าใจผู้ติดยา
- ช่วยหลีกเลี่ยง หรือไม่ให้พบตัวกระตุ้น
- สังเกตอาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการที่รู้สึกอยากยา
- ไม่ตำหนิผู้ป่วยเมื่อมีอาการอยากยา
- อาจหากิจกรรมให้ทำ หรือทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
- ให้กำลังใจผู้ป่วย และอยู่เป็นเพื่อนในขณะที่เกิดอาการ
- ชื่นชมผู้ป่วยเมื่อสามารถผ่านพ้น หรือต่อสู้กับอาการอยากยาได้
- อาจต้องพาผู้ป่วยไปรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทรมานจากอาการและป้องกันการเสพยาเสพติดซ้ำต่อไป
ส่วนทางฝั่งผู้ที่เคยติดยาเสพติด หากคุณมีความคิดที่จะกลับไปใช้ยาอีกครั้ง แนะนำให้ทบทวนตรึกตรองให้ดีว่า "ทำไมคุณถึงต้องกลับไปใช้ยาอีกครั้ง" และให้รีบหาคนปรึกษา และช่วยเหลือทันที
คนคนนั้นอาจเป็นคนที่เคยอยู่ข้างๆ คุณในขณะที่เลิกยาเมื่อครั้งก่อนก็ได้ และให้ตระหนักถึงช่วงเวลาที่คุณเลิกยาว่า "มันยากเย็นและทรมานเพียงใด"
อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เพราะการติดยาเสพติดมีอันตรายจนถึงชีวิต และการกลับไปเสพติดยาครั้งต่อไปก็อาจแลกด้วยชีวิตของคุณที่ไม่อาจคืนกลับมาก็ได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android