April 11, 2017 19:59
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในระยะฟิ้นฟู ญาติหรือผู้ดูแลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
บทบาทหน้าที่ของญาติ/ผู้ดูแลและครอบครัว
-กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำ วันด้วยตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่ผู้ป่วยสามารถทำ ได้ เช่น แปรงฟัน อาบนํ้า แต่งตัว หวีผม รับประทานอาหารด้วยตนเอง การลุกนั่ง การขับถ่าย โดยญาติอาจคอยช่วยเหลือเป็นกรณีไป การกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองจะทำ ให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็วขึ้น ญาติ / ผู้ดูแลควรให้กำลังใจ และส่งเสริมผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
-กระตุ้นผู้ป่วยไม่ให้ลืมร่างกายข้างที่อ่อนแรง โดย จัดวางอุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ข้างที่อ่อนแรง การพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยไม่ลืม ยื่นสิ่งของให้ หรือการป้อนข้าวควรเข้าข้างที่อ่อนแรง
-กระตุ้นการรับรู้ บุคคล วันเวลา สถานที่ และสังคม โดยจัดให้มีนาฬิกา ปฏิทิน รูปภาพ โทรทัศน์ ให้ผู้ป่วยดู ให้ญาติ หรือผู้ดูแลช่วยบอกถามพูดคุย หรือให้ผู้ป่วยพูดคุยกับลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ หรือผู้คุ้นเคย
-ครอบครัวให้ความรัก ความใส่ใจเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวเท่าที่ทำ ได้อย่างสมํ่าเสมอ ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนอยู่แต่บนเตียง เช่น พาผู้ป่วยไปเดินเล่น ออกกำลังกาย ออกนอกบ้านไปสถานที่ต่างๆ บางรายอาจต้องให้มีส่วนร่วมรับรู้ในกิจการงาน ตลอดจนสังคมสมาคม ที่เคยทำมาก่อนบ้างตามความเหมาะสม
-ผู้ป่วยอาจมีความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ดูแลโดยเฉพาะสามีหรือภรรยา ควรทำความเข้าใจและปลอบโยนเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย
-ควรมีการหมุนเวียนผู้ดูแล กรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เนื่องจากต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน
ส่วนนอกจากนี้เป็นการดูแลที่แบ่งย่อยออกเป็นหลายหมวด ให้ศึกษาแนวทางจากหนังสือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในลิ้งค์ที่ทิ้งไว้ให้ครับ
http://www.agingthai.com/sites/default/files/uploads/1/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9.pdf
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้าเส้นเลือดแตก ยังไม่ได้รับการผ่าตัด
หมอให้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน ต้องดูแลคาป่วยอย่างไรค่ะ
เส้นเลือดในสมองตีบ หายขาดหรือไม่ค่ะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรค เส้นเลือดในสมองตีบ รักษาหายขาดไม่ค่ะ
โรค เส้นเลือดในสมองตีบ รักษาหายขาดไม่ค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีการดูแลคนป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)