May 07, 2018 20:57
ตอบโดย
สารินทร์ สีหมากสุก (นพ.)
เพื่อความชัดเจนของประวัติที่ให้มาและเป็นประโยชน์แก่หมอท่านอื่นๆ นะครับ รบกวนขอประวัติเพิ่มเติมและรูปหน่อยนะครับ (เพราะลักษณะตุ่มนั้นมีหลากหลาย ไม่สามารถคาดเดาจากการพิมพ์บอกได้)
อายุ โรคประจำตัว ยากินประจำมียาอะไรบ้าง(ขอชื่อยาและวิธีการกิน) ประวัติผ่าตัด ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ ได้ป้องกันหรือไม่ มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแค่คนเดยีวหรือไม่ หรือคู่นอนเคยไปมีเพศสัมพันธ์ับคนอื่นมาก่อนหน้านั้นหรือไม่ ตุ่มดังกล่าวขึ้นมากี่วันแล้ว ลักษณะตุ่มเป็นอย่างไร เช่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ตุ่มคล้ายดอกกระหล่ำ ขนาดเท่าไหร่ โตขึ้นหรือไม่ มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มีไข้ ตกขาวผิดปกติปัสสาสะแสบขัด ปัสสาวะเป็นหนอง เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด คู่นอนมีอาการอะไรผิดปกติหรือไม่ อาการนี้เคยเป็นมาก่อนหรือไม่ เคยไปพบแพทย์มาแล้วหรือยัง ถ้าเคยไปพบแพทย์มาแล้วไปมาวันที่เทาไหร่ แพทย์วินิจฉัยว่าอะไร ได้ยาอะไรกลับมารับประทานบ้าง เป็นต้น
แต่จากประวัติที่ให้มาแค่นี้อาจจะคิดถึงโรคที่เกิดจากการติดเชื้อครับ เช่น ตุ่มดังกล่าวอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเริมได้ มักจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส แสบเจ็บ มีตกขาวผิดปกติ, ต่อมรูขุมขน/ผิวหนังมีการอักเสบติดเชื้อ มีารอดตันหรือจากการเสียดสี จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีอาการแสบ ปวดหรือนั่งแล้วเจ็บได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์มักพิจารณายาปฏิชีวนะตามสาเหคุที่สงสัยครับ ดังนัน้เพื่อความถูกต้องในการวินิจฉัยและการรักษา ควรไปพบแพทย์ก่อนนะครับ อาจจะต้องมีากรตรวจภายในเพิ่มเติม เพื่อดูความผิดปกติในส่วนอื่นๆด้วยครับ ซึ่งบางครั้งดูแค่ภายนอกอาจจะไม่เห็น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เป็นตุมที่ปากช่องคลอดมีตุ่มเดียว ถ้าจิ้มก็จะเจ็บนิดหน่อย เวลาฉี่ก็จะแสบบ้างเป็นบางครั้ง มีตกขาวขุ่นๆออกไปทางเหลือง เวลานั่งก็จะเจ็บบ้าง เป็นอะไรร้ายแรงหรือป่าวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)