May 31, 2019 23:02
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
โดยปกติประจำเดือนสามารถมาเร็วมาช้าได้บวกลบ7วันครับ ถ้ายังไม่เกิน7วันหมอว่ายังรอไปก่อนได้ครับ
ปกติจะมาประมาณ2-6วัน ปริมาณประมาณ 20-60ml
.............
การที่ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือขาด อาจเกิดได้จากความเครียด ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ,การตั้งครรภ์
หรือเกิดได้จากโรคอื่นๆ กรณีที่ประจำเดือนขาดนานๆ หรือมาไม่สม่ำเสมอครับ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่อาการคือ ประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับพบลักษณะของฮอรโมนเพศชาย(มีสิว มีขนเยอะ) หรือ บางครั้งความผิดปกติของต่อมใต้สมองซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ครับหากประจำเดือนขาดนานๆ ร่วมกับบีบหัวนมเเล้วมีน้ำนมไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการตกไข่ผิดปกติจากสาเหตุของรังไข่เอง
.............
หากเดิมประจำเดือนมาปกติ เเล้วประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ หรือตรวจเเล้วไม่ท้อง (ปกติประจำเดือนขาดก็ตรวจได้เเล้วครับว่าท้องหรือไม่) หรือ ไม่ได้มีความเครียดอื่นๆ ควรไปพบสูตินรีเเพทย์ครับ อาจพิจารณารับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ร่วมกับหาสาเหตุด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอสอบถามหน่อยค่ะ คือมีปัญหาเรื่องนี้ค่ะประจำเดือนไม่มา บอกก่อนนะคะคือไม่เคยมีเซ็กส์เลยค่ะ คือเป็นแบบนี้มาตอนช่วงขึ้นม.6ค่ะคือช่วงแรกๆคือมา2-3เดือนครั้งมีคั้งนึงไม่มาถึง10เดือนเลยไปร้านยาแล้วเค้าแนะนำให้ทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมนค่ะแล้วประจำเดือนก็มาปกติและเยอะมากๆวันนึงใช้ ขออนุญาตินะคะ ผ้าอนามัยวันละ4-5แผ่น แล้วหลังจากนั้นมันก็ไม่มาเดิอนนี้ก็เดือนที่3แล้วค่ะ แล้วพอถึงช่วงเวลาที่ประจำเดือนจะมาก็มีอารมณ์หงุดหงิดด้วยนะคะ แต่ประจำเดือนดันไม่มา คือเคยคุยเรื่องนี้กับแม่มาบ้างแล้วแม่ก็บอกว่าตอนแม่สาวๆแม่ก็เป็นค่ะแต่ไม่ถึงขนาดกับหนู ปล.ตอนที่ประจำเดือนยังมาปกติคือมีประจำเดือนค่อนข้างน้อยค่ะ ถ้าช่วยแนะนำหนูได้หนูขอบคุณมากๆเลยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)