June 07, 2019 15:14
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันไปแล้ว มีทางเลือกในการคุมกำเนิดฉุกเฉินดังนี้ค่ะ
1. รับประทานยาคุมฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดที่ทำได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
โดยสามารถรับประทานแบบครบขนาดในครั้งเดียวได้เลย นั่นคือ ถ้าใช้ยาคุมฉุกเฉินยี่ห้อที่มีแผงละ 2 เม็ด ก็รับประทาน 2 เม็ดพร้อมกันในครั้งเดียว แต่ถ้าใช้ยี่ห้อที่มีแผงละ 1 เม็ด ก็รับประทานเม็ดเดียวครั้งเดียว
แต่วิธีนี้มีประสิทธิภาพไม่สูงนัก แม้จะใช้ครบขนาดและทันเวลา ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 15 - 25% และไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องหลังรับประทาน หากจะมีเพศสัมพันธ์ซ้ำ จึงต้องใช้ถุงยางป้องกันด้วยนะคะ
ถ้าไม่ตั้งครรภ์ ผู้ใช้จะมีประจำเดือนมาตามรอบปกติเดิม หรือคลาดเคลื่อนไม่กี่วัน ซึ่งประจำเดือนปกติก็ควรจะมีปริมาณมากจนชุ่มผ้าอนามัย 2 - 3 แผ่น/วัน และมาต่อเนื่องกัน 3 - 7 วันนะคะ
ส่วนเลือดกะปริบกะปรอยที่อาจพบภายใน 7 วันหลังรับประทาน เป็นเพียงผลข้างเคียงจากยา ไม่ได้สำคัญอะไรค่ะ อาจพบหรือไม่พบก็ได้ และไม่ได้บ่งชี้ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่
ถ้ามีประจำเดือนมาแล้ว ก็คือไม่ตั้งครรภ์ค่ะ ถ้าต้องการคุมกำเนิดต่อไปข้างหน้า เช่น คาดว่าจะมีเพศสัมพันธ์อีกเรื่อย ๆ ก็ให้เริ่มใช้ยาคุมรายเดือนแผงแรกภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ซึ่งจะถือว่ามีผลคุมกำเนิดได้ตั้งแต่เม็ดแรกที่รับประทานนะคะ
แต่ถ้าไม่มีประจำเดือนมา ควรตรวจการตั้งครรภ์ให้ชัดเจน ด้วยการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะ ตรวจในตอนเช้าหลังตื่นนอน (ปัสสาวะแรกของวัน) ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 14 วันค่ะ
2. ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อพิจารณาการใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง ภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
วิธีนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก ผู้ใช้มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.6 - 0.8% เท่านั้น และมีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องได้นาน 3 - 10 ปี ขึ้นกับรุ่นของห่วงอนามัยที่ใช้ค่ะ
..
..
..
แต่ถ้าผู้ถามยังไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ แค่เพียงต้องการถามล่วงหน้าไว้ก่อน แนะนำให้ใช้แฟนใช้ถุงยางป้องกัน แทนการนำยาคุมฉุกเฉินมาใช้แทนวิธีคุมกำเนิดปกตินะคะ
เพราะถ้าใช้ถุงยางถูกต้องและไม่มีปัญหารั่วซึมหรือฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงแค่ 2% ซึ่งถือว่าน้อยมากจนไม่น่าจะกังวล อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แล้วช่วงที่กินยาคุมแบบรายเดือนไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตอนไหนหรอคะ
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
หากเริ่มใช้ยาคุมแผงแรกภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ก็จะถือว่ามีผลคุมกำเนิดได้ตั้งแต่เม็ดแรกที่รับประทานค่ะ จึงมีเพศสัมพันธ์หลั่งในได้ตามปกติ ไม่จำเป็นจะต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีผลคุมกำเนิดจากยาคุมรายเดือน ผู้ใช้จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 - 9% หรือความเสี่ยงจะค่อนไปทางต่ำ คือ 0.3% หากรับประทานถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอค่ะ
อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานค่ะ
..
..
..
ถ้าผู้ถามมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันไปแล้ว ในตอนนี้แนะนำให้พิจารณาการเลือกวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินตามที่กล่าวไปข้างต้นดีกว่านะคะ เพราะการสอบถามเกี่ยวกับการใช้ยาคุมรายเดือนซึ่งยังไม่ได้ใช้ในตอนนี้ อาจทำให้ผู้ถามยิ่งสับสนมากขึ้นค่ะ
ถ้าผู้ถามเลือกคุมกำเนิดฉุกเฉินด้วยยาคุมฉุกเฉิน ในกรณีที่สามารถป้องกันได้สำเร็จและไม่มีการตั้งครรภ์ เมื่อมีประจำเดือนมาแล้วและต้องการคุมกำเนิดต่อไปข้างหน้า ผู้ถามสามารถสอบถามเพิ่มเติมจากเภสัชกรประจำร้านยาได้นะคะ ซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้ที่ละเอียดและเหมาะสมตามยี่ห้อยาคุมที่ผู้ถามเลือกใช้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้ามีเพศสัมพันธ์หลังมีประจำเดือนประมาณสองอาทิตย์ให้กินยาคุมฉุกเฉินใช่ไหมคะ แล้วถ้ากินยาคุมแบบฉุกเฉินแล้วให้ทำยังใงต่อคะกินยาคุมแบบรายเดือนต่อด้วยถ้ามีประจำเดือนรึป่าวคะถ้าจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งต่อไปแต่ไม่อยากกินยาคุมฉุกเฉิกอ่ะคะ (ครั้งแรกจริงๆค่ะ😅)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)