April 21, 2017 21:42
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
จุดมุ่งหมายของการรักษาไซนัสอักเสบคือ บรรเทาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเป็นซ้ำของโรค
หลักในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ
1. กำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ
โดยการให้ยาต้านจุลชีพเพื่อทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว การเลือกชนิดของยาต้านจุลชีพขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ การดำเนินโรคความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อนั้นๆและอุบัติการณ์ของการดื้อยา ระยะเวลาของการให้ยาต้านจุลชีพนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันควรให้ยาต้านจุลชีพอย่างน้อย 10-14 วัน หรือให้จนผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติแล้วให้ต่ออีก 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังควรให้ยาต้านจุลชีพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-6 สัปดาห์
2. ทำให้การไหลเวียนของสารคัดหลั่งและอากาศภายในไซนัสดีขึ้น
2.1 ยาหดหลอดเลือดทำให้การบวมของเยื่อบุจมูกลดลงบรรเทาอาการคัดจมูกทำให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น อาจให้ในรูปยาพ่นหรือยาหยอดจมูกหรือยารับประทานหรือให้ร่วมกันทั้งสองชนิดก็ ได้ สำหรับยาหดหลอดเลือดที่พ่นหรือหยอดจมูกไม่ควรใช้นานกว่า 7 วัน เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกเสียได้ ส่วนยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทานควรระวังผลข้างเคียงเช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายด้วย
2.2 ยาสตีรอยด์พ่นจมูกอาจมีประโยชน์ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังหรือไซนัส อักเสบเป็นๆหายๆ โดยเฉพาะถ้ามีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือชนิดที่ไม่แพ้ร่วมด้วย ยาพ่นจมูกดังกล่าวจะช่วยลดการอักเสบในจมูกทำให้รูเปิดของไซนัสที่มาเปิดใน โพรงจมูกโล่งขึ้น ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศการระบายของสารคัดหลั่งหรือหนองที่อยู่ภายในไซนัสดีขึ้น
2.3 ยาต้านฮิสตามีนไม่แนะนำให้ใช้ ยาต้านฮิสตามีนรุ่นเก่าในผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่ไม่ได้มีโรคจมูกอักเสบจาก ภูมิแพ้ร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้น้ำมูกและสารคัดหลั่งแห้งและเหนียวได้ ในรายที่มีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย ควรเลือกใช้ยาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่เนื่องจากมีผลข้างเคียงดังกล่าวค่อนข้าง น้อย
2.4 ยาละลายมูกหรือเสมหะยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพของยาละลายมูกในการรักษาโรคไซนัสอักเสบชัดเจน
2.5 การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆเป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออกเพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิด ของไซนัสโล่ง ทำให้การพัดโบกของขนกวัดที่เยื่อบุจมูกดีขึ้น อาการต่างๆของผู้ป่วยจะดีขึ้นเร็ว
2.6 การสูดดมไอน้ำเดือดจะช่วยทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม โล่ง อาการคัดจมูกน้อยลง อาการปวดตื้อๆที่ศีรษะดีขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้การพ่นยาเข้าไปในจมูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.7 การผ่าตัดส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบมักจะหายได้โดยการใช้ยา อย่างเต็มที่ ส่วนน้อยที่ต้องรับการผ่าตัด ดังนั้นในการรักษาจึงพยายามใช้ยาอย่างเต็มที่ก่อนการผ่าตัดเป็นการแก้ไข พยาธิสภาพที่ทำให้รูเปิดระหว่างโพรงจมูกและไซนัสอุดตัน
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
• ผู้ป่วยที่ต้องการเชื้อไปส่งตรวจหาชนิดและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ
• ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยให้ยาอย่างเต็มที่แล้วผู้ป่วยไม่ดีขึ้น(ผู้ป่วย ไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่หายภายใน 3 - 4 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผลภายใน 4 - 6 สัปดาห์) หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลายๆครั้ง
• ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากมีไข้ขึ้นสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกายวิภาคภายในโพรงจมูก ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัส
3. รักษาโรคหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่
3.1) ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายต้องแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ให้ดีจะได้มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยให้พักผ่อนให้เพียงพอรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเพื่อให้ความต้านทานโรคดีขึ้นโอกาสที่จะเกิดการ ติดเชื้อน้อยลง
3.2) เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นในทางเดินหายใจส่วนบนเช่น เป็นหวัด คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบหรือฟันผุ ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วเพื่อไม่ให้การอักเสบนั้นลุกลามไปถึงไซนัสได้
3.3) ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือชนิดไม่แพ้ ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีปฏิบัติตัวและดูแลสิ่ง แวดล้อมให้เหมาะสม
3.4) ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นช่องจมูกคดหรือมีความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นๆในจมูก หรือมีริดสีดวงจมูกควรให้การรักษาด้วยยาหรือผ่าตัดให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอนนี้จะมีเสมหะเป็นก้อนเหนียวติดอยู่ที่คอ ต้องไอออกตลอดเวลาเพราะถ้าไม่เอาออกจะรู้สึกหายใจขัด และมีอาการปวดหัวตา หน้าผากและแสบจมูกร่วมด้วย ทำยังไงให้เสมหะพวกนี้หมดไปคะ
ไซนัสจะสามารถหายขาดได้มั้ยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)