May 27, 2019 11:28
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75-85%ค่ะ โดยที่ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อทานช้าค่ะ คือถ้ายิ่งทานเร็วประสิทธิภาพจะยิ่งสูงค่ะ อย่างไรก็ตามการคุมด้วยยาคุมแบบฉุกเฉินถือว่าประสิทธิภาพไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการคุมด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ควรทานยาคุมฉุกเฉินเกิน2กล่องต่อเดือน ยาคุมฉุกเฉินมีไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถูกข่มขืน ถุงยางอนามัยแตก หรือทานยาคุมแบบรายเดือน ดังนั้นถ้าประจำเดือนขาดแนะนำให้ตรวจการตั้งครรภ์ค่ะ และถ้าต้องการมีเพศสัมพันธ์ครั้งถัดไปแนะนำคุมด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ถุงยางอนามัย ยาคุมแบบรายเดือน แบบฉีด แบบฝัง เป็นต้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
เนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันชี้ว่ากลไกหลักที่น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่ากลไกอื่น ๆ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ของยาคุมฉุกเฉิน ก็คือการชะลอไข่ตก ดังนั้น ในทางทฤษฎี หากยาไม่สามารถชะลอไข่ตกได้ทัน และมีไข่ตกมาในช่วงที่มีเพศสัมพันธ์พอดี ก็เสี่ยงที่ยาคุมฉุกเฉินจะป้องกันการตั้งครรภ์ไม่สำเร็จค่ะ
แต่ในทางปฏิบัติจริง คงไม่อาจทราบได้ว่าวันที่ไข่ตกจริงจะเป็นวันเดียวกับที่คาดการณ์ไว้หรือเปล่านะคะ ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะตรงกับวันที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีไข่ตกหรือเปล่า ก็ย่อมถือว่ามีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงค่ะ
ดังนั้น การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีป้องกันสำรอง อาจช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวลงมาได้บ้าง แต่เนื่องจากประสิทธิภาพที่ไม่สูงนัก ผู้ใช้จึงยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 15 - 25% แม้จะรับประทานครบขนาดและทันเวลานะคะ
เพราะฉะนั้น หากยังไม่พร้อมจะมีบุตรและไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใด ๆ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ค่ะ เพราะถ้าใช้ถูกต้องและไม่รั่วซึมหรือฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงแค่ 2% นะคะ
แต่ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน เช่น ถุงยางฉีกขาด ไม่ต้องสนใจว่าวันที่มีเพศสัมพันธ์จะตรงหรือไม่ตรงกับวันที่คาดไว้ว่าไข่จะตกหรือไม่ค่ะ แต่ควรป้องกันฉุกเฉินเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว โดยมี 2 ทางเลือก ก็คือ การใช้ยาคุมฉุกเฉินซึ่งประสิทธิภาพไม่ได้สูงนัก ซึ่งหากรับความเสี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงเพราะจะมีประสิทธิภาพสูงกว่ามากค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้ามีการหลั่งใน ในวันที่ตกไข่พอดี ยาคุมฉุกเฉินจะลดการตั้งครรภ์ได้เหมือนเดิมไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)